แนะนำอาชีพที่น่าสนใจอีกอาชีพหนึ่งซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน คือ การเป็นผู้สอบบัญชี และ ถ้าหากได้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ถือได้ว่าได้เป็นผู้สอบบัญชีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง น้องๆหลายคนที่กำลังตัดสินใจเลือกสาขาวิชาที่เรียนตามที่ชอบในมหาลัยต่างๆ ซึ่งจะเป็นครรลองตามปกติ แต่สำหรับน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้วางแผนไว้สำหรับการจะเป็นผู้สอบบัญชีโดยเร็ว มีหนทางอย่างไร ขั้นแรกจะต้องเรียนจบปริญญาตรีทางบัญชีให้จบเร็วขึ้นโดยสามารถเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐได้สองมหาวิทยาลัย 1.สมัครเรียนโครงการสัมฤทธิบัตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งน้องๆ สามารถลงทะเบียนเรียนได้ในขณะที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเมื่อได้วุฒิจบ ม.6 หรือ เทียบเท่าให้นำวุฒินี้สมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติ และโอนย้ายวิชาที่สอบผ่านจะทำให้น้องๆเหลือวิชาเรียนไม่กี่วิชา หรือ อาจจะจบพร้อมกับ ม.6 2.สำหรับน้องที่จบ ม.3 แล้วสามารถสมัครเรียนต่อได้ที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง การศึกษาเป็นรายวิชาเพื่อเตรียมศึกษาระดับปริญญาตรี (Pre-degree) เมื่อน้องจบ ม.6 หรือเทียบเท่า ให้สมัครเป็นนักศึกษาปกติ เหมือนลักษณะเดียวกันกับข้อ 1 จากข้อ1 หรือ 2 จะทำให้น้องๆ ลดระยะเวลาเรียนในระดับปริญญาตรี ได้หลายปี ซึ่งจะมีเวลาทุ่มเทกับการฝึกงานและเตรียมสอบ CPA (Certified Public Accountant) ซึ่งต้องสอบจำนวน 6 วิชา 1.วิชาการบัญชี 1 2.วิชาการบัญชี 2 3.วิชาการสอบบัญชี1 4.วิชาการสอบบัญชี2 5.วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1 6.วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1 สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการหาที่ฝึกงานและ ขึ้นทะเบียนฝึกหัดงานเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การฝึกงานนั้นจะต้องต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี นับจากวันยื่นฝึกงานและมีระยะเวลาฝึกงานรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง การเลือกที่ฝึกงานมีความสำคัญมาก เพราะบางสำนักงานไม่มีเงินเดือนเนื่องจากถือว่าฝึกงานส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่ฝึกงานในช่วงที่ยังเรียนไม่จบแต่ต้องการชั่วโมงการฝึกงานให้ครบตามกำหนดเร็วๆ ให้คิดว่าเหมือนกับนิสิต นักศึกษา สาขาวิชาอื่นๆ ทีทางคณะบังคับให้มีการฝึกงานตามหลักสูตร ซึ่งนิสิต นักศึกษา ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้พียงพอในช่วงของการฝึกงาน แต่มีสำนักงานหลายแห่งที่ประกาศรับผู้ฝึกงานมีค่าตอบแทนให้ซึ่งน่าสนในใจมากคือได้ทั้งชั่วโมงฝึกงานและได้ค่าตอบแทน ความท้าทายของการฝึกงานในช่วงที่ยังเรียนไม่จบคือ งานเร่ง งานด่วน เวลาน้อย ตรงกับช่วงเวลาที่ต้องสอบ เป็นช่วงเวลาที่ต้องฝ่าฟันไปให้ได้ การเรียนจบได้วุฒิปริญญาตรี เป็นเพียงบันไดขั้นแรกเท่านั้นในเส้นทางอาชีพนี้ หรือ จะเปรียบเสมือนประตูบานแรกที่น้องสามารถผ่านมาได้ยังมีต้องประตูบานต่อไปอีกหลายบานที่จะต้องผ่านให้ได้ สิ่งสำคัญห้ามท้อถอย เพราะน้องต้องเตรียมสอบอีก 6 วิชา ซึ่งจะมีการจัดสอบอย่างน้อยปีละ 2ครั้ง ต้องทำคะแนนให้ได้ 60% จึงจะสอบผ่านและสามารถเก็บได้ในระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี การกำหนดระยะเวลา 4 ปี เพื่อให้น้องสอบผ่านทุกวิชา ถ้าหากน้องสอบผ่านปีละ 2 วิชา โอกาสของสำเร็จอยู่แค่เอื้อมแล้วแต่ถ้าหากสอบผ่าน ปีแรกเพียง 1 วิชา ปีต่อไปการเตรียมตัวของน้องต้องเข้มข้นมากกว่าเดิมสองเท่า ซึ่งจำเป็นที่น้องต้องหาที่ติว เพื่อที่น้องสามารถสอบผ่านทุกวิชาก่อนครบ 4 ปี (ยกเว้นในกรณีที่น้องๆสอบผ่านทุกวิชาแล้วแต่การฝึกหัดงานไม่ครบถ้วนและยังไม่ขาดจากการเป็นผู้ฝึกงานให้ผลทดสอบนั้นยังใช้ต่อไป) ขอให้น้องๆที่ใฝ่ฝันที่เลือกจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทุกท่านประสบความสำเร็จ แต่ยังไม่จบนะหลังจากประสบความสำเร็จน้องๆ จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องตามที่สภาวิชาชีพบัญชีฯได้กำหนดไว้ เพื่อรักษาความเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ น้องจะยื่น เป็น ASEAN CPA ต่อก็ได้ตามเงื่อนไขของ สภาวิชาชีพบัญชีฯ น้องๆที่จบปริญญาตรี ยังสามารถสอบเป็น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA: Tax Auditor) ซึ่งไม่ต้องผ่านการฝึกงานเพียงแต่มีคุณสมบัติตามที่ กรมสรรพากร กำหนด น้องๆคงจะเห็นแล้วว่าการจะเป็นผู้เชี่ยชาญในด้านใดๆก็ตามย่อมมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา หรือ การจะสอบเป็นผู้พิพากษา ก็ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่น้องๆขาดไม่ได้คือ เมื่อจบปริญญาตรีไม่ได้หมายถึงว่า น้องจะหยุดอ่านหนังสือ เพราะเมื่อหยุดอ่านหนังสือ เหมือนกับน้องอยู่กับที่ส่วนคนอื่นที่มีวินัยในการพัฒนาตัวเองจะก้าวต่อไปอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !