รีเซต

เด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เข้าเรียนได้ไหม?

เด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เข้าเรียนได้ไหม?
TeaC
4 ตุลาคม 2564 ( 16:42 )
194
เด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เข้าเรียนได้ไหม?

เริ่มแล้วสำหรับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้นักเรียน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า อายุระหว่าง 12-18 ปี ซึ่ง 4 ตุลาคม 2564 เป็นวันแรก เพื่อสร้างภูมิรับเปิดเทอม เดือนพฤศจิกายนนี้

 

 

ซึ่งคำถามที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอาจเป็นไปได้เกิดข้อสงสัยว่า เด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เข้าเรียนได้ไหม? โดยเรื่องนี้ นายสาธิต  ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขวางแนวทางฉีดวัคซีนไฟเซอร์สำหรับเด็กอายุ 12–18 ปี (ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่า) ประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วประเทศ โดยระยะแรกได้จัดสรรวัคซีน 2 ล้านโดสในต้นเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งได้บูรณาการกับงานอนามัยโรงเรียน เพื่อให้เด็กเข้าถึงวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

 

นายสาธิต กล่าวต่อว่า การฉีดวัคซีนไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการเปิดเรียนต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่การฉีดวัคซีนช่วยให้เด็กวัยเรียน มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่วนเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนก็สามารถเข้าเรียนได้ ควบคู่กับการเข้มงวดมาตรการป้องกันโรค ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

 

สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวไม่ได้เรียนหนังสือ หรือกลุ่มนอกระบบการศึกษา สามารถเข้ารับวัคซีนที่โรงพยาบาลที่รักษาประจำได้ ส่วนเด็กเรียนที่บ้านหรือโฮมสคูล ลงทะเบียนรับวัคซีนกับโรงพยาบาลใกล้บ้านได้เช่นกัน

 


"การฉีดวัคซีนให้แก่เด็กจะเป็นไปตามความยินยอมของนักเรียนและผู้ปกครอง ไม่เป็นการบังคับ ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไปบ้างแล้ว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน" นายสาธิต กล่าว

 

แนวทางป้องกัน โควิด-19 ที่โรงเรียน

 

ทั้งนี้ มาดูแนวทางป้องกันโรคโควิดระบาดที่โรงเรียน โดยข้อมูลจาก อ.ดร.พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล เว็บไซต์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ แนะนำถึงแนวปฏฺบัติของสถานศึกษา และแนวปฏิบัติของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง ดังนี้

 

 

แนวปฏิบัติของสถานศึกษา

 

1. คัดกรองนักเรียนด้วยมาตรการที่เข้มงวด

 

  • ตรวจวัดใช้และคัดกรองอาการของโรคระบบทางเดินหายใจของนักเรียนและบุคลากรทุกคน
  • สังเกตอาการผิดปกติของนักเรียน หากพบอาการป่วย เช่น ไอ มีน้ำมูก แม้ไม่มีอาการไข้ ให้งดข้าเรียนจนกว่าจะหาย

 

2. จัดการพื้นที่ในสถานศึกษาให้เหมาะสม

 

  • กรณีห้องเรียนที่ปิดแอร์ตลอดวลา ควรพิมช่วงเวลาในการพักแอร์ และเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายแท
  • จัตตรียมเจลแอลกอฮอล์อย่างทั่วถึง เช่น บริเวณทางข้าห้องเรียน และพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีการใช้งานร่วมกัน
  • จัดสถานที่ให้หมาะสมโดยยึดแนวทางการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลในทุกกิจกรรม เช่น การเข้าแถว จัดที่นั่งเรียน จัดที่นั่งรับประทานอาหาร
  • จัดตารางเหลื่อมเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน เพื่อลดความแออัด
  • สำหรับเด็กที่มีการนอนกลางวัน ควรจัดที่นอนโดยรักษาระยะห่างอย่างน้อง 1-2 เมตร

 

3. หลีกเลี่ยงการเรียนการสอน หรือกิจกรรมที่นักเรียนต้องรวมกลุ่มใกล้ชิด

 

4. จัดเตรียมห้องพยาบาล สำหรับรองรับเด็กป่วยโรคระบบทางเดินหายใจแยกจากเด็กป่วยปกติ

 

5. เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างคุณครูด้วยกัน สำหรับแจ้งความผิดปกติของเด็กนักรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ

 


แนวปฏิบัติของผู้ปกครอง

 

  • ให้บุตรหลานใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  • สอนบุตรหลานเรื่องสุขอนามัย ล้างมือสม่ำสมอ และรักษความสะอาดอย่างเคร่งครัด
  • สอนบุตรหลานให้รักษาระยะห่างเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน

 

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมเข้ารับวัคซีนอย่าลืมปฏิบัติตามมาตรการเคร่งครัด และเตรียมตัวก่อนฉีด "วัคซีนไฟเซอร์" ให้ดี ศึกษาให้พร้อมนะ 

 

 

 

ข้อมูล : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว 

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง