ระวังนะอย่าปีนไปตรงนั้น!ระวังล้มอย่าวิ่งไปทางโน้น!ห้ามหยิบของชิ้นนั้นเข้าปากนะ!สารพัดความเป็นห่วง สารพัดคำสั่งห้าม ที่ออกจากปากของผู้ปกครองด้วยความรัก และความเป็นห่วงแต่การใช้คำสั่ง ห้าม! ไม่! หยุด! อย่า! บ่อยๆครั้งยิ่งในเด็กเล็กที่กล้ามเนื้อ และสมองกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วกลับต้องโดนหยุดชะงัก เพราะคำสั่งในทางลบเหล่านี้ กลับยิ่งเป็นการทำให้พัฒนาการของเด็กพัฒนาได้ช้าและพัฒนาได้ไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น ขึ้นชื่อว่า "อุบัติเหตุ" ก็คงจะเข้าใจตรงกันว่าไม่มีใครอยากให้เกิด ยิ่งเวลาที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยแล้ว คำว่าอุบัติเหตุกับเด็กๆมักจะมาคู่กันเสมอ และในเด็กแต่ละวัยก็มีสิ่งที่พ่อแม่ต้องระวังต่างกันออกไป แต่ถ้ารู้ว่าเด็กในแต่ละวัยมักจะเกิดอุบัติเหตุแบบไหน พ่อแม่ก็สามารถเพิ่มการเอาใจใส่ และเพิ่มความระมัดระวัง ในเรื่องนั้นๆ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน❤️เด็กอายุ 0-6 เดือนเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ผู้ปกครองยังต้องดูแลเอาใจใส่แบบใกล้ชิดมากๆ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลาอุบัติเหตุที่ต้องระวังและใส่ใจเป็นพิเศษ ในกรณี......● ใช้หมอนนุ่มเกินไปเด็กอาจเกิดการขาดอากาศหายใจได้ เมื่อเด็กเริ่มฝึกพลิกตัว● แม่เหนื่อยเผลองีบหลับอาจเป็นเหตุให้นอนทับลูก● ระวังเรื่องตกจากที่สูง หรือ ตกเตียงวิธีการป้องกันในความเป็นจริงเด็กวัยทารกยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้หมอน แต่ถ้าผู้ปกครองต้องการจะใช้ ให้เลือกหมอนที่ไม่ยุบ ไม่ฟูนุ่ม เพราะเด็กทารกยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ยิ่งในกรณีที่เด็กเริ่มที่จะฝึกพลิกตัว หมอนฟูนุ่มอาจอุดจมูกเด็กจนขาดอากาศหายใจได้ และบ่อยครั้งที่แม่ต้องให้นม และมีอาการอดนอน อาจเผลองีบหลับทับลูกโดยไม่รู้ตัวได้ อาจต้องหามาช่วยสลับกันเลี้ยงเพื่อให้แม่ได้พักผ่อนบ้าง ❤️เด็กอายุ 6-12 เดือนเด็กในวัยนี้เริ่มเรียนรู้การสัมผัส การหยิบจับสิ่งของ เรียนรู้ผ่านปาก ยิ่งเป็นของเล็กๆเด็กๆจะยิ่งชอบเป็นพิเศษ และเริ่มฝึกเดินเตาะแตะ พ่อแม่จึงต้องระวังเป็นอย่างมาก ในกรณี......● สำลักอาหาร หรือ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดทางเดินหายใจ● มีโอกาสสัมผัสสารเคมี หรือสารพิษจากของใช้ใกล้ตัวภายในบ้าน● มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากรถหัดเดิน ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ได้ดูแลใกล้ชิดวิธีการป้องกัน ผู้ปกครองควรเรียนรู้วิธีการช่วยเด็กจากการสำลักอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารและสิ่งของชิ้นเล็กๆ ผู้ปกครองควรมีที่จัดเก็บอุปกรณ์ของใช้ภายในบ้าน ที่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายไว้ให้มิดชิด และเก็บให้พ้นมือเด็กเสมอ ❤️เด็กอายุ 12-24 เดือน เด็กวัยนี้เป็นวัยที่กล้ามเนื้อกำลังพัฒนา ชอบเดิน ชอบวิ่ง ชอบปีนป่ายโดยที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง และชอบทดลองหยิบจับสัมผัส คว้าสิ่งของต่างๆ รอบตัว สิ่งที่ต้องระวังคือ....● สำลักอาหาร หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดทางเดินหายใจ● มีโอกาสพลัด ตกหกล้มได้ง่าย เนื่องจากเป็นวัยหัดเดิน● มีโอกาสล้มกระแทกกับมุมต่างๆภายในบ้าน เช่นมุมโต๊ะ มุมตู้ มุมกำแพง● มีโอกาสจมน้ำจากอ่าง หรือถังน้ำภายในบ้านวิธีการป้องกันควรเก็บวัตถุชิ้นเล็กที่เด็กสามารถคว้าเข้าปาก และกลืนได้ จนเป็นสาเหตุให้วัตถุหลุดเข้าไปอุดทางเดินหายใจผู้ปกครองควรหาที่ติดมุมตู้ มุมโต๊ะ มุมกำแพงต่างๆ เพื่อป้องกันเวลาเด็กวิ่งหกล้ม และกระแทกกับมุมจนได้รับบาดเจ็บผู้ปกครองควรกำหนดพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยให้เด็ก และดูแลเด็กๆอย่างใกล้ชิด เพราะความเสี่ยงจากการจมน้ำของเด็กจาก อ่างน้ำ กาละมัง ถังน้ำ บ่อปลา อุบัติเหตุของเด็กเล็กล้วนแล้วแต่เกิดภายในบ้านเป็นส่วนใหญ่ ❤️เด็กอายุ 24 - 60 เดือนเด็กวัยนี้กำลังสนุกสนานกับการฝึกขี่จักรยาน การหยิบจับเครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งของใกล้ตัวในบ้านหลายๆอย่าง เป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น จึงมีสิ่งที่ต้องระมัดระวังและยังคงต้องอยู่ในสายตาผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิดดังนี้● การได้รับบาดเจ็บจากของมีคม● ได้รับบาดเจ็บจากการขี่จักรยาน● การได้รับอันตรายจากปลั๊กไฟ และรูปลั๊กไฟ● มีโอกาสได้รับสารเคมี หรือสารพิษจากของใช้ใกล้ตัวภายในบ้าน ควรเก็บให้พ้นมือเด็กวิธีการป้องกันผู้ปกครองควรเก็บของมีคมให้พ้นมือเด็ก ผู้ปกครองควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกนิรภัยต้องใส่ทุกครั้ง เวลาที่ลูกต้องทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการล้มหัวกระแทก เช่น การขี่จักรยาน การเล่นสเก็ตบอร์ด การเล่นโรลเลอร์เบรด ผู้ปกครองควรใช้อุปกรณ์ในการปิดรูปลั๊กไฟภายในบ้าน เพราะเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นจึงมีอุบัติเหตุจากรูปลั๊กไฟเกิดกับเด็กบ่อยครั้ง❤️เด็กอายุ 6-18 ปีเด็กวัยนี้เริ่มสนุกสนาน และมีความสุขกับการได้เล่นกับเพื่อนๆ ชอบการผจญภัย ชอบทำตามกลุ่มเพื่อน และเริ่มได้ใช้ชีวิตแบบไกลหูไกลตาผู้ใหญ่ได้ออกนอกสถานที่เพื่อเล่นสนุก จึงอาจเกิดอุบัติเหตุจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้เสมอ● อุบัติเหตุตกจากที่สูง● อุบัติเหตุการจมน้ำ● อุบัติเหตุบนท้องถนน● อุบัติเหตุทุกรูปแบบวิธีการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กวัยนี้สามารถเกิดกับเด็กๆได้ทุกรูปแบบ ควรระวังไม้ขีดไฟ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกเมื่อเด็กเริ่มโต และเริ่มได้ออกห่างจากสายตาผู้ใหญ่ เป็นวัยที่เริ่มมีกลุ่มเพื่อนและชอบทำตามเพื่อน ผู้ปกครองจึงไม่สามารถควบคุมและดูเด็กๆได้ตลอดเวลาเมื่อเด็กต้องออกไปเที่ยวเล่นนอกสถานที่กับเพื่อนๆผู้ปกครองก็ต้องสอนในเรื่องของการเรียนรู้ในการเอาตัวรอดทางน้ำ เช่น การฝึกว่ายน้ำ การฝึกลอยตัว หรือการสอนให้เด็กๆให้เห็นถึงความสำคัญของการใส่เสื้อชูชีพทุกครั้งที่ลงเล่นน้ำ สิ่งสำคัญที่สุดคือการการสอนให้เด็กๆเข้าใจถึงอันตราย และการสอนวิธีการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตัวเองอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆบางครั้งแม้อยู่ใกล้ชิดก็อาจจะเลี่ยงไม่ได้ แต่การป้องกันอุบัติเหตุจะลดลงได้ถ้าผู้ใหญ่ทุกคนใส่ใจดูแลในเด็กที่อายุประมาณ 3 ขวบ เมื่อเริ่มหัดขี่จักรยานผู้ปกครองควรจัดหาหมวกนิรภัยให้เด็กใส่เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เมื่อนั่งรับประทานอาหาร ควรสอนเด็กให้นั่งเป็นที่ ไม่วิ่งเล่นขณะทานอาหารสุดท้ายแล้วครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรให้ความสำคัญ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยให้กับลูกๆและฝึกสอนเรื่องความปลอดภัยจนเกิดเป็นนิสัยกับเด็กๆ เช่นการฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีทให้เป็นนิสัยในขณะที่นั่งรถทุกครั้ง อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ตลอดเวลาสามารถลด และป้องกันการเกิดได้ ถ้าพ่อแม่ ครู ผู้ดูแล มีความใส่ใจทั้งในเรื่องของการสอนเด็กๆ และเรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็กให้มีความปลอดภัยเพราะการเล่นอย่างเต็มที่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่โดนห้าม โดนสั่ง โดนบอกให้เด็กต้องคอยระแวงระวังอยู่ตลอดเวลา นอกจากจะส่งผลถึงพัฒนาการที่ดีกับเด็กๆแล้ว ยังทำให้เด็กกล้าแสดงออก มีความมั่นใจ เป็นตัวของตัวเองอีกด้วย #มนุษย์แม่Credit หน้าปก Allan Mas / PexelsCredit Photo1 Kelvin Octa / PexelsCredit Photo2 Ksenia Chernaya / PexelsCredit Photo3 Caleb Oquendo / PexelsCredit Photo4 Tatiana Syrikova / PexelsCredit Photo5 Kasuma / PexelsCredit Photo6 Kampus Production / Pexels🌟อ่านจบแล้วเข้าไปพูดคุยในคอมมูนิตี้ที่นำเทรนด์ที่สุดในปีนี้ที่ TrueID Community 🪄✨เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !