กุหลาบมอญสุโขทัยเป็นกุหลาบสมัยเก่า มีลักษณะเป็นพุ่มสูง ลำต้นตั้งตรง สามารถสูงได้ถึง 2 เมตร ใบมีสีเขียวรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมนส่วนขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบด้านล่างมีขนเล็กน้อย ก้านใบเป็นสีน้ำตาลแดง หนามเยอะ มีดอกสีชมพูบานเย็นขนาดไม่ใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกดก กลีบดอกซ้อนกันเป็นชั้นๆจำนวนมาก กลีบค่อนข้างกลม ปลายกลีบดอกเป็นหยัก รอบดอกไว ออกดอกตลอดทั้งปี เลี้ยงง่าย ทนแดด ในช่วงฤดูหนาวดอกจะใหญ่กลีบดอกจะฟูแน่น มากกว่าในฤดูร้อน เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพอากาศ โตเร็ว แตกกิ่งก้านเก่ง สามารถนำไปทำอาหารและทำชาได้ กุหลาบมอญสุโขทัยที่สวนป่วยเป็นโรคปุ่มปม โรคที่รักษายาก ผู้เขียนปลูกต้นกุหลาบมอญสุโขทัยต้นที่ป่วยมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ต้นกุหลาบมีพุ่มหนาและสูงประมาณ 1.5 เมตร ดูแลเอาใจใส่อย่างดี ต่อมาต้นกุหลาบมีอาการใบตก ซีดเหลือง เหี่ยว กิ่งก้านแห้งดำ หนามแห้ง ยอดใหม่ที่งอกขึ้นมาก็มีลักษณะสั้น กิ่งก้านเล็ก ใบมีขนาดเล็กจิ๋ว ดอกที่ได้เล็กมากๆและบิดเบี้ยวไม่สมบูรณ์ ผู้เขียนได้สังเกตเห็นตรงบริเวณกิ่งใกล้โคนต้น มีปุ่มปมสีน้ำตาลเข้มเกิดขึ้นอยู่รอบๆหลายกิ่ง ปุ่มปมยังเกิดบริเวณโคนต้นและราก จึงทราบว่ากุหลาบป่วยเป็นโรคปุ่มปม โรคปุ่มปมในกุหลาบ เกิดจากแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า “อโกรแบคทีเรียม” แบคทีเรียชนิดนี้อาศัยอยู่ในซากพืชในดิน เมื่อต้นกุหลาบมีบาดแผลบนลำต้นหรือกิ่ง แบคทีเรียจะเข้าทางบาดแผล แล้วเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเข้าไปในเซลล์ของต้นกุหลาบ และจะกระตุ้นเซลล์ที่อยู่รอบๆเชื้อให้แบ่งเซลล์ที่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการบริเวณรอบกิ่งและรากบวมพองออกเป็นลักษณะปุ่มปม สีน้ำตาลเข้ม ในระยะแรก ปุ่มปมจะมีขนาดเล็กและจะขยายใหญ่ขึ้น เชื้อแบคทีเรียจะเข้าทำลายบริเวณ กิ่ง ลำต้น และราก สามารถเจริญเติบโตในดินได้เป็นเวลานานหลายปี อาการโรคปุ่มปมมักจะพบบริเวณ กิ่ง โคนต้น และราก ที่อยู่ใกล้ระดับผิวดิน โรคปุ่มปมจะทำให้ต้นกุหลาบไม่เจริญเติบโต กิ่งก้านใบซีดเหี่ยว ต้นแคระแกรน ยอดสั้นกุด ดอกไม่สมบูรณ์ เนื่องจากสารอาหารไม่สามารถผ่านขึ้นไปเลี้ยงส่วนบนของลำต้นได้ หากพบโรคปุ่มปมเกิดขึ้นกับต้นกุหลาบ การแก้ไขทำได้ยากมากจึงต้องกำจัดต้นกุหลาบที่เป็นโรคปุ่มปม และนำดินปลูกกำจัดทิ้งด้วย เมื่อพบว่าต้นกุหลาบมอญสุโขทัยเป็นโรคปุ่มปม จึงได้ขุดต้นกุหลาบใส่กระสอบแล้วนำไปทิ้ง ส่วนดินที่ใช้ปลูกก็จะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่อีกนานหลายปี ก็นำใส่กระสอบไปทิ้งเช่นกัน กระถางที่ใช้ปลูกต้นกุหลาบที่เป็นโรคนำไปล้างให้สะอาดแล้วตากแดดทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ นำจอบ เสียม กรรไกรตัดแต่ง มาล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ตากแดดทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เมื่อทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็นำไปเก็บเข้าที่ ส่วนในบริเวณที่เก็บอุปกรณ์ก็ควรทำความสะอาดด้วยเช่นกัน สาเหตุของการเกิดโรคปุ่มปมในกุหลาบ จากดินปลูกที่ใช้ปลูกต้นกุหลาบมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ เพราะเชื้อสามารถเจริญเติบโตในดินได้นานหลายปี เมื่อมีสภาพอากาศอบอุ่น ต้นกุหลาบเกิดบาดแผลจากการตัดแต่งกิ่ง หรืออื่นๆ เชื้อก็จะเข้าไปภายในกิ่งง่ายขึ้น ได้รับเชื้อจากต้นพันธุ์ที่นำมาปลูก การทำความสะอาดสวนบริเวณที่ปลูกต้นกุหลาบไม่เพียงพอและต้องกำจัดวัชพืชเกิดจากการตัดแต่งกิ่งกุหลาบ โดยไม่ได้ปิดปากแผลกิ่งที่ตัดแต่ง เมื่อมีแผลเชื้อแบคทีเรียก็สามารถเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จึงควรปิดปากแผล หลังตัดแต่งกิ่งทุกครั้ง โดยใช้ปูนแดงหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆป้ายบริเวณแผลที่ตัดแต่งเกิดจากแมลงพวกปากกัด เช่น เพลี้ยภาพโดย : Jinnyj(นักเขียน) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !