ใครที่เคยใช้ Excel ก็ต้องเคยเจอความผิดพลาดของสูตรมาบ้าง ตอนนี้เราจะมาดูข้อผิดพลาดประเภทต่างๆ ที่อยู่ใน Excel สาเหตุที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไข โดยในที่นี้เราจะมาดูความผิดพลาดที่เกิดกับการเขียนสูตรหรือ Formula ของเราว่ามีอะไรบ้างและจะแก้ไขได้อย่างไรสำหรับสูตรหรือ Formula error จะมีด้วยกัน 7 ประเภทดังนี้#DIV/0!#N/A#NAME?#NULL!#NUM!#REF!#VALUE! 1. #DIV/0!ข้อผิดพลาดในกรณีนี้มี 2 สาเหตุด้วยกันคือ- เราเขียนสูตรสำหรับหารตัวเลขตรงๆ และตัวหารนั้นเป็นเลข 0 เช่น = 23/0 ผลลัพธ์จะได้เป็น #DIV/0!- ในสูตรหรือ Formula ที่เขียนนั้นมีการหารและบังเอิญว่าค่าที่จะนำมาหารเป็นเลข 0 เช่นระบุค่า A1 = 100 และ B1 = 0 แล้วมีการเขียนสูตร =A1/B1 ก็จะเกิดข้อผิดพลาด #DIV/0! ได้ข้อควรระวัง Excel จะพิจารณาว่าเซลล์ที่ไม่มีค่าหรือเป็นค่าว่างๆ นั้นมีค่าเป็น 0 ดังนั้นถ้ามีการหารด้วยเซลล์ที่มีค่าว่างก็จะได้ข้อผิดพลาด #DIV/0! เช่นเดียวกันวิธีแก้ปัญหา1.1 หลีกเลี่ยงการหารด้วยเลข 0 และหลีกเลี่ยงการคำนวณใดๆ ที่ทำให้ตัวหารเป็นเลข 01.2 ระมัดระวังอย่าให้เซลล์ว่างๆ ในสูตรของเรา1.3 ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราสามารถที่จะปรับปรุงสูตรของเราให้แสดงตัวเลขหรือเป็นเซลล์ว่างๆ หรือแสดงข้อความก็ได้ สมมติว่าเซลล์ A3 = 200 และ B3 = 0 =IF(B3 = 0, "", A3/B3) สำหรับสูตรนี้จะตรวจสอบก่อนถ้า B3 มีค่าเป็น 0 จะไม่ทำการหารแต่จะส่งค่า "" หรือค่าว่างออกมาเป็นผลลัพธ์ ถ้า B3 ไม่ใช่ 0 จะทำการหารกับ A3 แล้วส่งผลลัพธ์ออกมา =IF(ISERROR(A3/B3), "", A3/B3) สำหรับสูตรนี้จะตรวจสอบก่อนถ้าการหาร A3 ด้วย B3 มีข้อผิดพลาดจะส่งค่า "" หรือค่าว่างออกมา แต่ถ้าไม่เกิดข้อผิดพลาดก็จะส่งผลลัพธ์ของ A3/B3 ออกมา =IF(ISERROR(A3/B3), "ตรวจสอบ", A3/B3) สำหรับสูตรนี้จะตรวจสอบก่อนถ้าการหาร A3 ด้วย B3 มีข้อผิดพลาดจะส่งคำว่า "ตรวจสอบ" ออกมา แต่ถ้าไม่เกิดข้อผิดพลาดก็จะส่งผลลัพธ์ของ A3/B3 ออกมา =IFERROR(A3/B3, "ตรวจสอบ") สำหรับสูตรนี้จะหาร A3 ด้วย B3 ถ้ามีข้อผิดพลาดจะส่งคำว่า "ตรวจสอบ" ออกมา แต่ถ้าไม่เกิดข้อผิดพลาดก็จะส่งผลลัพธ์ของ A3/B3 ออกมา 2. #N/A errors#N/A ง่ายๆ เลยก็ N/A มากกว่าคำว่า "Not Available" ซึ่งจะหมายถึงว่าหาข้อมูลบางอย่างไม่พบโดยข้อผิดพลาดนี้เกิดจากสาเหตุ 2 ประการด้วยกัน- ใช้คำสั่งเกี่ยวกับ LOOKUP เช่น HLOOKUP, VLOOKUP แล้วหาค่าไม่เจอ- เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณมีข้อผิดพลาดเป็น #N/A อยู่แล้ว เช่นเราจะหาผลรวมของ A1 และ B1 แต่ B1 มีค่าเป็น #N/A ดังนั้น =SUM(A1, B1) ผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดข้อผิดพลาดเป็น #N/A ด้วยวิธีแก้ปัญหา2.1 ถ้าใช้คำสั่งประเภท LOOKUP ก็ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่วงในการหาข้อมูลนั้นเรากำหนดไว้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าตรวจสอบแล้วไม่พบจริงๆ เราจะซ่อนความผิดพลาดได้โดยการใช้คำสั่ง IFNA ครอบคำสั่ง LOOKUP ของเราและกำหนดให้แสดงข้อความอื่นๆ แทน2.2 ถ้าเซลล์ที่จะนำมาคำนวณมีค่าเป็น #N/A เราก็สามารถที่จะตรวจสอบก่อนได้เช่นกัน โดยใช้คำสั่ง IFNA ในการตรวจสอบ เช่น A3 = 200 และ B3 = #N/A เราจะหาผลลัพธ์ =SUM(A3, B3) เราก็จะเขียนสูตรได้เป็น =SUM(IFNA(A3, 0), IFNA(B3, 0)) แบบนี้ก็ได้ IFNA(A3, 0) คือถ้าตรวจสอบพบว่า A3 มีค่าเป็น #N/A ให้ใช้ค่า 0 แทน 3. #NAME?ข้อผิดพลาดของ #NAME? คือถ้าหากเราพยายามใช้คำสั่งใดๆ ก็ตามที่ Excel หรือเรายังไม่ได้กำหนดไว้ เช่นเราอยากจะใช้คำสั่ง VLOOKUP แต่ไปเขียนเป็น VVLOOKUP เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากการที่เราพยายามจะใช้ชื่อที่เรากำหนดไว้เองแต่เราเผลอลบไปแล้วก่อนหน้านี้เป็นต้นวิธีแก้ปัญหา3.1 ระมัดระวังการแก้ไขหรือลบชื่อที่เรากำหนดเองใน Name Manager (Name Manager จะอยู่ใน Tab "Formula" ซึ่งชื่อที่เรากำหนดเองจะมาปรากฏใน Name Manager นี้)3.2 เมื่อพิมพ์คำสั่งใดๆ ให้ Excel ช่วยเหลือเรา โดยเมื่อเราพิมพ์คำสั่งใดๆ อยู่ Excel จะให้คำแนะนำขึ้นมา เมื่อเห็นว่าใช่สิ่งที่เราต้องการ เราก็สามารถที่จะกดปุ่ม TAB เพื่อเลือกคำสั่งนั้นออกมาได้เลย โดยเราไม่จำเป็นต้องพิมพ์เองทั้งหมด3.3 ถ้าเรามีการเรียกใช้คำสั่งจากภายนอกเช่น add-ins ต่างๆ เราจะต้องตรวจสอบในแน่ใจว่าได้ติดตั้ง add-ins ดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว 4. #NULL! errors ข้อผิดพลาดแบบ #NULL! เกิดจากการระบุช่วงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น จะใช้คำสั่ง SUM แต่ระบุช่วงไม่ถูกต้องหรือใช้ช่องว่างกำหนดช่วงข้อมูลดังตัวอย่างดังนี้ =SUM(A1:A10 B1:B10) แต่ในความจริงแล้วข้อผิดพลาดแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่ถ้าหากเกิดขึ้นแล้วก็สามารถแก้ไขได้ วิธีแก้ปัญหา4.1 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการระบุช่วงของเราถูกต้อง เช่น จาก =SUM(A1:A10 B1:B10) ให้แก้ไขให้ถูกต้องเป็น =SUM(A1:A10, B1:B10) เป็นต้น 5. #NUM! errors#NUM! ก็มาจากคำว่า "Number Error" สาเหตุเป็นได้หลายประการ เช่น- ผลลัพธ์จากการคำนวณอาจจะได้ค่าที่มากเกินหรือน้อยเกินกว่าที่ Excel กำหนดขอบเขตเอาไว้วิธีแก้ปัญหา สำหรับปัญหานี้นั้น Excel จะกำหนดขอบเขตตัวเลขที่ Excel ยอมรับได้คือตัวเลขระหว่าง -1 x 10^307 และ 1 x 10^307 ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่ในช่วงที่มากอยู่แล้ว ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆ ลองลดขนาดตัวเลขลงแล้วกำกับว่าหน่วยเป็นพันหรือล้านจะดีกว่า- เมื่อใช้คำสั่งใดๆ แล้วคำสั่งนั้นต้องการค่าเป็นตัวเลขแต่เราใส่ค่าอื่นๆ ลงไป ผลลัพธ์ก็จะได้เป็น #NUM! วิธีแก้ปัญหา ให้ตรวจสอบการใช้คำสั่งต่างๆ ให้แน่ใจ 6. #REF! สำหรับข้อผิดพลาดนี้จะเกิดจากการที่เราเขียนสูตรแล้วเชื่อมโยงไปยังเซลล์ผิดพลาด โดยมีหลายสาเหตุเช่น- เซลล์ที่เราเขียนเชื่อมโยงไว้ถูกลบ เกิดขึ้นบ่อยๆ จากการลบคอลัมน์หรือบรรทัดของ Excel โดยผู้ใช้เองวิธีแก้ปัญหา ตรวจสอบและยกเลิกการลบเซลล์หรือคอลัมน์หรือบรรทัดใน Excel เพื่อดูผลลัพธ์ 7. #VALUE!เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดบ่อยครั้งที่สุดใน Excel โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการใส่ข้อมูลให้คำสั่งต่างๆ ไม่ถูกต้อง โดยมีหลายสาเหตุ เช่น- ใส่ค่าลงไปในคำสั่งไม่ถูกต้อง เช่น =SUM(A3, "A") ก็จะได้ผลลัพธ์เป็น #VALUE!วิธีแก้ปัญหา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใส่ค่าให้กับคำสั่งต่างๆ อย่างถูกต้อง- คำสั่งบางคำสั่งต้องการค่าที่ใส่ลงไปในคำสั่งแค่เพียงค่าเดียว แต่ผู้ใช้ใส่ลงไปเป็นช่วงหรือหลายค่า ผลลัพธ์ก็จะเกิดเป็น #VALUE! เช่นเดียวกันวิธีแก้ปัญหา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใส่ค่าให้กับคำสั่งต่างๆ อย่างถูกต้อง น่าจะเข้าใจข้อผิดพลาดของ Excel บ้างแล้ว และน่าจะตรวจสอบและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้แล้วนะครับ 😎 ภาพโดยนักเขียนหมีขั้วโลก ทอดกรอบ〔´(エ)`〕อัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !