5 สถาปนิกน่าสนใจ แนวงานที่แต่ละคนนำมาใช้นั้น มีความแปลกและมีความใหม่ มีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว เราไปรู้จักพวกเขากันดีกว่า บางคนเป็นเจ้าของวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) บางคนได้ชื่อว่าเป็นสถาปนิกต้นแบบคำว่า น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ โชว์ฟังก์ชัน บางคนเคยเป็นนักมวยและขับรถบรรทุกมาก่อน รวมถึงยังมีสถาปนิกดาวรุ่งผู้ได้รับเกียรติให้รับหน้าที่ออกแบบ Serpentine Pavilion เป็นคนที่ 19 ของโครงการ ทั้ง 5 คนมีจุดเด่นและความน่าสนใจที่เราสามารถศึกษาแนวคิดในการทำงาน แล้วมาประยุกต์ใช้กับการเรียนของคุณได้ ไม่มาก ก็น้อย 1. Arata Isozakiขอบคุณภาพจาก : https://www.pritzkerprize.com/laureates/arata-isozaki “สถาปนิกที่มีความสามารถหลากหลาย มีอิทธิพล และมีความเป็นสากลอย่างแท้จริง” คำจำกัดความนี้เป็นของคณะกรรมการตัดสินรางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) ที่มีต่อ Arata Isozaki สถาปนิกวัย 87 ปี ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นสถาปนิกยุคหลังสงครามโลกที่ทรงอิทธิพลที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับรางวัล Pritzker Prize ในปี 2019 เขาถูกยกให้เป็นผู้มองการณ์ไกลแห่งโลกสถาปัตยกรรม ด้วยเอกลักษณ์การออกแบบอันล้ำสมัยในสไตล์ Futurist ที่เขาสร้างสรรค์มันขึ้นมากว่า 100 แห่ง หลายผลงานของ Isozaki ได้สร้างชื่อเสียงไปทั่วเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และออสเตรเลียผลงาน- arata isozaki art tower mito- arata isozaki kitakyūshū city museum- arata isozaki palau sant jordiขอบคุณภาพจาก : ภาพที่ 1 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Mito_Art_Tower.JPG ภาพที่ 2 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Kitakyushu_Municipal_Museum_of_Art_20090728.JPG ภาพที่ 3 : https://de.wikipedia.org/wiki/Olympische_Sommerspiele_1992 2. Kengo Kumaภาพโดย : https://archeyes.com/sushi-metaphor-kengo-kuma/ สถาปนิกที่กล้าก่อตั้งบริษัทในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับวิกฤติฟองสบู่แตก ชายที่หลงรักสถาปัตยกรรมตั้งแต่วัยแตะหลักสิบเคยตามไปดูผลงานของ Frank Lloyd Wright กับบริษัททัวร์จนครบ 100 แห่ง ได้เห็นโลกจนทำให้เขาตระหนักได้ว่าสถาปัตยกรรมนั้นเกี่ยวพันกับชีวิตของผู้คนในสหรัฐอเมริกามากเพียงใด ซึ่งผิดกับบ้านเกิดของเขาในขณะนั้นที่ชีวิตประจำวันของผู้คนและสถาปัตยกรรมส่วนมากไม่เชื่อมต่อกัน ชวนอ่านเรื่องราวของ Kengo Kuma สถาปนิกญี่ปุ่นที่ทรงอิทธิพลทางความคิด ผู้ที่ออกแบบตั้งแต่สถาปัตยกรรมยันรองเท้าวิ่ง และสรรสร้างในสิ่งที่วงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นต้องยอมรับในความสามารถของเขาผลงาน- กรีฑาสถานแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)- v&a dundee- ginza shochiku squareขอบคุณภาพจาก : ภาพที่ 1 : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:New_national_stadium_tokyo_1.jpg ภาพที่ 2 : https://www.geograph.org.uk/photo/6036395 ภาพที่ 3 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:ASATSU-DK_INC._(headquarters).jpg 3. Toyo Itoภาพโดย : https://th.wikipedia. สถาปนิกชาวญี่ปุ่น สุดยอดสถาปนิกผู้มีพลังสร้างสรรค์และมีอิทธิพลในวงการสถาปัตยกรรมมากที่สุดคนหนึ่ง แนวคิดด้านสถาปัตยกรรมของเขาทำให้เกิดสถาปัตยกรรมที่ไม่จำกัด ในวัยเด็ก Ito สนใจศิลปะเพียงเล็กน้อย ไม่มีความฝันที่จะเป็นสถาปนิกเลย เขาชื่นชอบเบสบอลและใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเบสบอลมืออาชีพ อย่างไรก็ตามมีอิทธิพลหลายอย่างที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนให้เขาสนใจด้านศิลปะ เช่น คุณปู่ของเขาทำธุรกิจค้าไม้ คุณพ่อเป็นนักธุรกิจที่มีความสนใจลึกซึ้งเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาโบราณของเกาหลีและภาพวาดสไตล์ญี่ปุ่น นอกจากนี้คุณพ่อยังชอบออกแบบแปลนบ้านให้เพื่อนอีกด้วย เขาเริ่มหันมาสนใจด้านสถาปัตยกรรมอย่างจริงจัง ตอนจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว (the University of Tokyo) ในปี ค.ศ. 1965 เข้าทำงานในบริษัท Kiyonori Kikutake & Associates ต่อมาในปี ค.ศ.1971 เขาได้เปิดสตูดิโอออกแบบของตัวเองภายใต้ชื่อ Urban Robot (Urbot) และในปี ค.ศ.1979 เปลี่ยนชื่อเป็น Ito & Associates, Architectsผลงาน- White U House- Toyo Ito Museum of Architecture- Torre Realia BCNขอบคุณภาพจาก : ภาพที่ 1 : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:New_national_stadium_tokyo_1.jpg ภาพที่ 2 : https://www.geograph.org.uk/photo/6036395 ภาพที่ 3 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Hospitalet_de_Llobregat_-_Plaza_de_Europa,_Torres_de_Toyo_Ito_(Torres_Porta_Fira),_Hotel_Porta_Fira_y_Torre_Realia_BCN_14.jpg 4. Sou Fujimoto ภาพโดย : https://en.wikipedia.org/wiki/Sou_Fujimoto เพราะสังคมเมืองที่ขยายออกไปไหนก็เป็นไปได้ยาก บ้านหลังเล็กจึงเป็นอีกทางเลือกที่มนุษย์เมืองอย่างเราๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ Sou Fujimoto สถาปนิกชาวญี่ปุ่นคนนี้ ก็กำลังบอกกับเราว่า ขนาดไม่ใช่ปัญหา แต่อยู่ที่ว่าคุณจะคิดและจัดสรรมันอย่างไรต่างหาก เขาคือผู้นำปรัชญาการอยู่อาศัยยุคใหม่ สะท้อนได้จากผลงานบ้านไซส์เล็กหลายหลังที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น แม้รูปลักษณ์ภายนอกของบ้านจะสร้างความพิศวงสงสัยในแวบแรกที่เห็น แต่หากได้ลงไปใช้ชีวิตอยู่แล้ว งานออกแบบของเขาคือการดึงเอาสันชาตญาณมาเป็นผู้ชี้นำว่าจะใช้งานฟังก์ชั่นพื้นที่ภายในบ้านเหล่านั้นอย่างไร เรื่องที่่เขาสนใจ คือความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมกับพฤติกรรมของมนุษย์ จึงเล่นกับโครงสร้างที่แปลความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เขากลับไปมองยังถ้ำหรือป่าเขาซึ่งคงสภาพพื้นที่เช่นนั้นตามธรรมชาติ แล้วพบว่าสิ่งที่เป็นตัวตีกรอบการใช้งานให้กับพื้นที่เหล่านั้นคือพฤติกรรมของมนุษย์ต่างหาก จึงเกิดเป็นปรัชญาการทำงานออกแบบที่ว่า “Primitive Future” หรืออนาคตที่กลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างบรรพบุรุษผลงาน - Tokyo Apartment - House NAขอบคุณภาพจาก : ภาพที่ 1 : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:New_national_stadium_tokyo_1.jpg ภาพที่ 2 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:House_NA.jpg 5. Tadao Ando ภาพโดย : https://th.wikipedia.org อีกหนึ่งสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ที่เรียนรู้การออกแบบด้วยตัวเองผ่านการใช้เซนส์ความงามเฉพาะตัวบวกกับการเฝ้าสังเกตธรรมชาติตามที่ถูกปลูกฝังในวัฒนธรรมญี่ปุ่นบ้านเกิด ทั้งหมดนี้หล่อหลอมให้เขาสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนความงามอันลึกซึ้งเกินกว่าจะสัมผัสผ่านเพียงสายตา หากแต่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อซึมซับสุนทรียะอย่างเต็มเปี่ยมเมื่อยืนอยู่ภายในอาคารของเขา สถาปนิกผู้นี้คือ TADAO ANDO ผู้เคยเป็นทั้งคนขับรถบรรทุก และนักมวย โดยไม่เคยคิดฝันว่าเขาจะกลายมาเป็นสถาปนิกในที่สุด เรื่องมันเกิดจาก ตอนไปทัศนศึกษากับที่โรงเรียนมัธยมปลาย เขาเกิดความประทับใจกับอาคารของ Imperial Hotelที่ Frank Lloyd Wright เป็นผู้ออกแบบ จึงมุ่งมั่นว่าจะเลิกชกมวย แล้วผันตัวไปเป็นสถาปนิกให้จงได้ หลังเลิกเรียนเขาจึงไปเข้าเรียนคลาสดรออิ้งและงานออกแบบตกแต่งภายใน รวมทั้งไปทัศนศึกษาอาคารต่างๆ ในญี่ปุ่นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อก้องโลกแห่งยุคโมเดิร์นผลงาน- วิหารแห่งแสง- Awaji Yumebutai- Akita Museum of Artขอบคุณภาพจาก : ภาพที่ 1 : https://pxhere.com/th/photo/836859ภาพที่ 2 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:House_NA.jpg ภาพที่ 3 : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Akita_Museum_of_Modern_Art_20190503.jpg จุดเริ่มต้นจะเป็นยังไงมันไม่สำคัญหรอก ก็แค่เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตก็น่าจะพอแล้ว