📑 ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาป.ตรี/ป.โท/ป.เอก, นักวิจัยหรือใครก็ตามที่กำลังต้องอ่านบทความวิจัยอยู่แล้วเกิดรู้สึกเบื่อและท้อไม่อยากอ่านบทความวิจัยแล้วต้องไม่พลาดบทความนี้เด็ดขาด. บทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเว็บไซต์ Scispace ที่จะช่วยให้คุณผู้อ่านอ่านบทความวิจัยได้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไปและไม่ท้อไปซะก่อนแม้ว่าจะต้องอ่านงานวิจัยมากมายหลายสิบบทความด้วยกัน.💻 ในปัจจุบันนั้นปัญญาประดิษฐ์ AI กำลังเข้าไปในทุกวงการและกลายมาเป็นตัวช่วยของเราในหลายๆเรื่องและวันนี้ AI ก็สามารถช่วยเราอ่านและสรุปบทความวิจัยยากๆให้เราได้แล้วนะ (แต่เราก็ควรที่จะตรวจสอบสิ่งที่ AI บอกกับเรามาทุกครั้งนะอย่าเชื่อ AI ง่ายๆ). วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเว็บไซต์ Scispace ที่คนที่กำลังอ่านหรือสรุปบทความวิจัยอยู่ควรลองใช้ดูซักครั้งแล้วรับรองว่าจะช่วยในการอ่านและสรุปบทความวิจัยได้อย่างแน่นอนโดยเราสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ Scispace ได้โดยการกดที่ลิ้งค์นี้ https://typeset.io/ หรือพิมพ์คำว่า Scispace ใน google แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์แรกได้เลย.🔵 ใช้เว็บไซต์ Scispace ช่วยทบทวนวรรณกรรมหรือ Literature Review📑 ในบทความนี้ผู้เขียนจะแนะนำการใช้งานเว็บไซต์ Scispace 2 ส่วนหลักๆที่หลายๆคนน่าจะใช้กันบ่อยสำหรับข้อแรกนั่นก็คือการใช้ Scispace ช่วยเราทำการทบทวนวรรณกรรมหรือ Literature Review นั่นเอง. เมื่อพูดถึงการทบทวนวรรณกรรมหรือ Literature Review งานวิจัยนั้นถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและน่าเบื่อเพราะเราจะต้องไปหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราต้องการจะทำมาก่อนจากนั้นก็ต้องมานั่งไล่อ่านแต่ละงานวิจัยและสรุปอออกมาแล้วก็ต้องนำมาเขียนทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยของเราซึ่งการทบทวนวรรณกรรมนั้นก็อาจจะต้องอ่านงานวิจัยนับสิบชิ้นหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละงานซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เวลานานมากดังนั้นถ้าเราสามารถให้ AI ช่วยอ่านและสรุปงานวิจัยให้เราได้หละก็จะทำให้เราประหยัดเวลาไปได้เยอะเลยนะ.📑 โดยการใช้ Scispace ช่วยเราทำการทบทวนวรรณกรรมนั้นทำได้โดยการพิมพ์หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจ/ต้องการที่จะทบทวนวรรณกรรมเข้าไปได้โดยตรงเลย. โดยเมื่อเราเข้าไปที่เว็บไซต์ Scispace แล้วนั้นในหน้าแรกก็จะอยู่ในหน้าของเมนู Literature Review อยู่แล้วเราสามารถที่จะพิมพ์หัวข้องานวิจัยเข้าไปได้เลย เช่น ถ้าเราต้องการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไรเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปได้ว่า How does climate change impact biodiversity? และกด enter จากนั้น Scispace จะรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราใส่เข้าไปออกมาให้เราพร้อมกับรายละเอียดทั้งหมดของแต่ละงานวิจัยซึ่งแต่ละงานวิจัยจะมีการสรุปคร่าวๆของงานวิจัยมาให้เราอ่านถ้าเราสนใจงานวิจัยชิ้นไหนเราก็สามารถกดเลือกเข้าไปอ่านแต่ละงานวิจัยได้เลย.💻 เรายังสามารถกรองงานวิจัยได้จากปีที่ตีพิมพ์หรือ Year ได้ด้วยโดยไปที่เมนู Sort by เพื่อกรองงานวิจัยในหัวข้อที่เราสนใจจากใหม่สุดไปเก่าสุดหรือจากเก่าสุดมาใหม่สุดซึ่งสามารถทำให้เราไล่ย้อนอ่านงานวิจัยที่ตีพิมพ์ตามช่วงเวลาที่เราต้องการได้.💻 เมื่อเจองานวิจัยที่เราสนใจแล้วเราก็สามารคลิกที่ชื่องานวิจัย(ตัวสีฟ้า) และคลิกไปที่เมนู Ask Copilot ซึ่งจะขึ้นมาเป็น Chatbot ที่เราสามารถถามคำถามเพื่อที่จะให้โปรแกรมช่วยสรุปส่วนต่างๆของแต่ละงานวิจัยให้เราได้อย่างเช่น📌 อยากจะให้ช่วยสรุปผลการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้เราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Results of the paper,📌 อยากจะให้ช่วยสรุปวิธีการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้เราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Methods used in this paper,📌 อยากจะให้ช่วยสรุปงานวิจัยทั้งหมดแบบคร่าวๆเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Conclusions from the paper,📌 อยากจะให้ช่วยระบุข้อจำกัดของงานวิจัยเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Limititions of this paper,📌 อยากจะให้แนะนำงานวิจัยที่ควรทำเพิ่มเติมในอนาคตเราก็สามารถพิมพ์เข้าไปว่า Future works suggested in this paper.เราสามารถพิมพ์คำถามเป็นภาษาไทยเข้าไปได้ด้วยนะแต่แนะนำว่าถ้าจะอ่านไปเขียนงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษต่อก็ควรถามและอ่านแบบภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มความเคยชินนะ. 🔵 ใช้เว็บไซต์ Scispace ช่วยสรุปงานวิจัย📑 ในส่วนที่สองที่น่าสนใจเลยก็คือเราสามารถที่จะทำการอัปโหลดไฟล์ pdf ของงานที่เราสนใจเข้าไปโดยตรงเพื่อให้ตัวโปรแกรมสรุปงานวิจัยที่เราใส่เข้าไปเลยก็ได้นะโดยจากหน้าแรกให้คลิกเลือกที่เมนู Extract data from PDFs แล้วเราสามารถลาก pdf มาใส่ในหน้าเว็บไซต์ได้โดยตรงเลยจากนั้นเราก็สามารถที่จะไปที่เมนู Ask Copilot เพื่อที่จะถามคำถามต่างๆกับ AI ให้ช่วยอ่านหรือสรุปงานวิจัยให้เราเหมือนกับที่ได้อธิบายไปด้านบนเลยซึ่งในกรณีนี้จะช่วยในกรณีที่เรามีงานวิจัยที่สนใจอยู่แล้วและอยากให้ AI ช่วยเราอ่านและสรุปงานวิจัยนั้นให้เรา.🔵 ใช้เว็บไซต์ Scispace ช่วยอธิบายสมการและตารางที่เข้าใจยากในงานวิจัย💻 ในหลายๆครั้งเมื่อเราอ่านงานวิจัยแล้วเจอกับสมการยากๆหรือตารางที่มีข้อมูลเยอะแยะไปหมดที่ยากจะเข้าใจได้ซึ่งก็จะทำให้เราต้องไปเสียเวลาทำความเข้าใจกับสมการหรือตารางนั้นๆอย่างมากซึ่งผู้เขียนก็อยากที่จะแนะนำหนึ่งในฟังก์ชันที่ช่วยในการอ่านงานวิจัยที่น่าทึ่งมากๆสำหรับ Scispace ก็คือเราสามารถที่จะใช้ให้มันอธิบายสมการหรือตารางได้ด้วยนะ! เราสามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้หลังจากที่เราอัปโหลดหรือเลือกงานวิจัยที่เราสนใจแล้วจากนั้นจะมีเมนู Explain math & table ขึ้นมาด้านบนของงานวิจัยเราสามารถที่จะกดเลือกเมนูนี้แล้วเอาเม้าส์ของเราไปคลุมที่สมการหรือตารางที่เราอยากจะให้ AI ช่วยอธิบายจากนั้น AI ก็จะอธิบายสมการหรือตารางนั้นมาให้เราด้วย Chatbot ที่มุมล่างขวาของหน้าจอเลย.📑 นอกไปจากนี้ Scispace ยังสามารถที่จะช่วยสร้างรูปแบบการอ้างอิงด้วยการใช้เมนู Citation generator และยังสามารถช่วยเรา paraphrase ประโยคของเราด้วยการใช้เมนู Paraphraser ได้ด้วยนะซึ่งถ้าผู้อ่านคนใดสนใจก็สามารถที่จะเข้าไปลองเล่นดูได้นะ.🔵 สรุปจะเห็นได้ว่า Scispace เป็นเหมือนสวรรค์สำหรับคนที่ต้องอ่านหรือสรุปงานวิจัยเลยทีเดียวเพราะรวมฟังก์ชันต่างๆที่จะช่วยลดความยุ่งยากและความน่าเบื่อในการอ่านและสรุปงานวิจัยได้อย่างมากเลยทีเดียว. ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าผู้อ่านที่ต้องอ่านหรือสรุปงานวิจัยเป็นจำนวนมากได้ลองใช้ดูก็จะช่วยในการอ่านและสรุปงานวิจัยได้อย่างมากเลยทีเดียวและจะพบว่าการอ่านและสรุปงานวิจัยจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป. สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังอ่านงานวิจัยอยู่นะถึงแม้จะเหนื่อยและท้อบ้างแต่ถ้าสู้ไม่ถอยซะอย่างผู้เขียนก็เชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้วผู้อ่านทุกคนจะทำได้อย่างแน่นอน.เครดิตภาพขอขอบคุณรูปภาพทั้งหมดจาก เว็บไซต์ Scispace (แคปโดยครีเอเตอร์) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !