วันนี้นักเขียนจะมาเปิด Portfolio ที่นักเขียนใช่ยื่นเข้าคณะวิศวะกันค่ะ และจะมาแนะนำแนวทางการเตรียมตัว การเก็บผลงานต่าง ๆ อธิบายแนวทางการทำพอร์ตที่นักเขียนใช้ หวังว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่รุ่นน้องปีต่อ ๆ ไปได้นะคะ ยื่นไปกี่ที่ และสาขาอะไรบ้าง รอบที่ 1 โครงการ Active Recruitment ปีการศึกษา 2568 วิศวะเคมี มจธ.หรือบางมด ติดสัมและยื่นยันสิทธิที่นี้ รอบที่ 1 โครงการคัดเลือกตรง ประเภทเรียนดี ปีการศึกษา 2568 วิศวะเคมี มจธ.หรือบางมด ไม่ติดสัม (โครงการนี้เขาจะวัดที่เกรดกับคะแนนtpat3 และ tgatนะคะ ซึ่งปีนักเขียนเขาจะบอกเปอร์เซนต์ไว้อยู่นะคะว่าคะแนนมีน้ำหนักเท่าไหร่เกรดมีน้ำหนักเท่าไหร่) รอบที่ 1 โครงการ Active Recruitment ปีการศึกษา 2568 วิศวะไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ มจธ.หรือบางมด ไม่ติดสัม รอบที่ 1 โครงการ Active Recruitment ปีการศึกษา 2568 วิศวะสิ่งแวดล้อม มจธ.หรือบางมด ติดสัม แต่ไม่ผ่านสัม (เป็นครั้งแรกที่ได้สัมภาษณ์ จะล่ก ๆ และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง และอีกอย่างคือเขาถามว่าถ้าติดทั้งเคมีกับสิ่งแวดล้อมจะเลือกอะไร คือในใจเราอยากได้วิศวะเคมีมาก ๆ ไม่อยากโกหกเขาด้วยเลยตอบไปว่าเลือกเคมีค่ะ ถ้าติดก็แปลกแล้วค่ะทุกคน) รอบที่ 1/2 โครงการช้างเผือก ม.เกษตรบางเขน วิศวะเคมี ไม่ติดสัม บางคนอาจจะแปลกใจว่าทำไมบางมดยื่นได้หลายอัน คือว่าบางมดเขามีหลายโครงการค่ะ สามารถยื่นได้ทุกโครงการถ้าเราตรงตามคุณสมบัติที่เขาต้องการ และแบบโครงการAR เราสามารถใช่พอร์ตเดียวยื่นได้หลายสาขาเลยค่ะ จะยื่นเป็น10 ก็ได้ถ้าเราอยากยื่น และก่อนที่เราจะไปดูพอร์ตเราจะมาเปิดคะแนนtgat tpat3 และเกรดของเราให้ดูก่อนนะคะ ว่าเกรดประมาณนี้ คะแนนประมาณนี้ นักเขียนอยากจะขอเตือน dek ปีต่อ ๆ ไปว่า การสอบtgat และ tpat3 เป็นอะไรที่สำคัญควรสอบเผื่อไว้ แบบตัวของนักเขียนเองตอนแรกกะจะเข้าวิศวะคอม มหิดล แล้วก็ไปดูเกณฑ์คะแนนมาว่ามหิดลไม่ใช้ tgat ก็เลยไม่ค่อยจริงจังกับมันเท่าไหร่ เพราะนักเขียนก็มีความคิดที่ว่าtgat 2 อะมันจะมีพาร์ทที่คล้าย ๆ กับ tpat3 ซึ่งมันเป็นความคิดที่ผิดเราควรที่จะเตรียมตัวไปให้ดีกว่านี้ นักเขียนตอนที่ทำคือทำtgat ไม่ทันเลยสักกะพาร์ทเดียว ได้มาเท่านี้ก็ถือว่าฟ้าช่วยแล้วค่ะ ส่วนtpat 3 คือมีหลายข้อที่ทำไม่ได้ แล้วพาร์ทฟิสิกส์ข้อไหนที่คิดว่าทำได้ก็ผิดอีก พาร์ทข่าวสารนักเขียนถูกแค่2 ข้ออะ ข่าวที่อ่านเตรียมตัวไปไม่มีเลยสักข้อ เอาข่าวอย่างปี63มาออก นักเขียนจะไปรอดออะไรหละคะ ถ้าไปดูปีก่อน 50ขึ้นสำหรับtpat 3 มันคือมาตรฐานแล้ว คือเซฟแล้วอะ แต่ถ้าในปีของdek68 50-60 เป็นช่วงที่มีคนได้คะแนนประมาณนี้เยอะมาก ถ้าจะเซฟจริงควรจะ60ขึ้น ก็เลยเริ่มรู้ตัวแล้วว่าถ้าจะไปรอบ 3 ต้องไปวัดกับ คณิต 1 และ ฟิสิกส์ น่าจะเดินบนถนนรุกรัง เลยเลือกที่จะลองยื่นรอบ 1 ดีกว่า และที่นักเขียนโชคดีอย่างหนึ่งคือตัวเองสอบtgat เผื่อว่าถ้าไม่สอบเผื่อไว้ก็น่าจะยื่นแต่ละโครงการที่นักเขียนยื่นไปไม่ได้ เลยอยากจะเตือนว่าให้เราลองไปอ่านเกณฑ์ของแต่ละมอ แต่ละคณะ ว่าเขาต้องการอะไรบ้างไว้ให้ดี นักเขียนก็เลยลองไปศึกษาดูว่านอกจากวิศวะคอม ตัวเองอยากเรียนอะไรอีกแล้วก็พบว่า วิศวะเคมีนี่แหละ คือใช่เลย เปิด Portfolio ลิงก์พอร์ตทั้งเล่ม >>> พอร์ตที่ใช้ยื่นวิศวะเคมีมจธ. https://drive.google.com/file/d/1OWg0GSgdBjG-J0GgDRedMYrh4XpPDjfX/view?usp=drive_link ตอนแรกนักเขียนคิดว่าจะปิดหน้าตัวเองดีไหมเพราะว่าเขิน แต่ถ้าต้องนั่งไล่ปิดทุกหน้าก็อย่าเปิดพอร์ตเลยกว่า 55555 ถามว่าเราควรทำปกยังไงถึงจะเหมาะสมและดีที่สุดอันนี้นักเขียนก็ไม่สามารถตอบได้นะคะ แต่ถ้าถามว่าตัวนักเขียนตอนทำคิดอะไรอยู่ คิดว่าพอร์ตอันนี้มันมีความเป็นตัวตนเรามากที่สุด ก็เลยทำเทมเพลตเอง คือตัวของนักเขียนเองเป็นคนชอบสีชมพู พอร์ตของนักเขียนมันเลยเป็นโทนนี้ สีพอร์ตของเรามันไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีประจำมอ ส่วนตัวมองว่ามันไม่ได้มีผลขนาดนั้นลองคิดว่าถ้าทุกคนใช้โทนสีแบบนั้นหมดคนตรวจก็ต้องรู้สึกเบื่อบ้างแหละ แต่ถ้าเราคิดไม่ออกสีประจำมอก็เป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ และจะสังเกตเห็นว่าหน้าปกนักเขียนไม่ได้ใส่ทั้งตราโรงเรียนและตรามหาลัย จริง ๆ เราจะใส่ตราโรงเรียนก็ได้นะคะ แต่ที่นักเขียนไม่ใส่เพราะรู้สึกว่ามันไม่เข้าเลยไม่ได้ใส่ไป หน้าปกควรมีอะไร ชื่อเรา ชื่อโรงเรียน คณะที่เราจะยื่น มหาลัยที่เราจะยื่น ส่วนโครงการที่เราจะยื่นนักเขียนเห็นบางคนก็ใส่ บางคนก็ไม่ใส่เอาเป็นตามที่ทุกคนสะดวกดีกว่านะคะ https://drive.google.com/file/d/1OhCbhngUaGwq82fzSy3zpmo8N3pqrg3S/view?usp=sharing หน้าที่ 2 ก็จะเป็นSOP สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง ตามยูทูปหรือช่องอื่น ๆ ก็มีสอนอยู่นะคะสามารถไปดูกันได้เลยค่ะ หรือจะดูของนักเขียนเป็นแนวทางก็ได้ แต่ไม่ได้อยากให้copyเลย เพราะsopมันคือการแนะนำตัวเอง แสดงจุดประสงค์ที่อยากจะเข้าให้คณะกรรมการเห็น และอีกอย่างคือถ้าทุกคนอยากเขียนแบบถูกหลักเลยก็อิงจากของนักเขียนไม่ได้นะคะ เพราะตอนนั้นอยากเขียนอะไรก็เขียนของจริง ไปเรื่อยเปื่อยอะ https://drive.google.com/file/d/1Ff-Nf6f9LRk5nHEVlADfwTao19jUu0vh/view?usp=drive_link ประวัติส่วนตัวควรมีอะไรบ้าง ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อ การศึกษา ความสามารถพิเศษ เกรด ข้อมูลส่วนตัวที่นักเขียนใส่ไปมี ชื่อจริง ชื่อเล่น วันเกิด สัญชาติ เชื่อชาติ ศาสนาที่นับถือ ข้อมูลการติดต่อก็ทั่วไปค่ะ เบอร์ อีเมล ที่อยู่ และเกรดจริง ๆ นักเขียนควรจะใส่ 3 รายวิชาที่เขาต้องการแต่นักเขียนลืมค่ะ ก็เลยใส่เฉลี่ยรวมไป ส่วนปพ1.ถ้าเขากำหนดมาว่าต้องใส่ลงไปในพอร์ตก็ใส่ไปค่ะ แต่ถ้าตอนยื่นเอกสารเขาให้ใส่แล้ว นักเขียนมองว่าในพอร์ตก็ไม่จำเป็นต้องใส่อีกรอบค่ะ รวมถึงพวกสารบัญด้วยถ้าเขาไม่ได้กำหนดมาก็ไม่จำเป็นต้องใส่ https://drive.google.com/file/d/1ZuYLw8qA2nbmO7yoQfy-wmXvyfwJZTPr/view?usp=sharing นักเขียนไม่มีผลงานเกี่ยวสอวน.เลย ก็เลยเลือกที่จะยื่นโครงการเหล่านี้ แบบโครงการAR คุณสมบัติที่เขาต้องการคือ ต้องมีผลงานเชิงประจักษ์ที่ได้รับรางวัลระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องมีความสามารถเฉพาะด้านที่ภาควิชาเห็นสมควรรับเข้าศึกษา ส่วนตัวผลงานระดับชาติที่เกี่ยวกับสาขาที่เลือกมีแค่อันเดียวค่ะ ฟังไม่ผิดค่ะทุกคนมีแค่อันเดียว ส่วนโครงงานหรือผลงานที่เหลือไม่มีระดับชาติเลยค่ะ https://drive.google.com/file/d/1LEX6VaT1paPXDRkpYRgilb742ZClSjba/view?usp=drive_link ลำดับการใส่ผลงานก็ควรเลือกกิจกรรมหรือผลงานที่เราได้รางวัลมาใส่ก่อน ยิ่งเกี่ยวกับสาขาที่เราจะเรียนด้วยยิ่งดีค่ะ หน้านี้นักเขียนจะใส่เป็นเกี่ยวกับพวกงานแข่งคณิตที่เคยไปแข่งมาค่ะ https://drive.google.com/file/d/1r-DHsEM0-7MQYapL6AF5VAkq4MQJgJL8/view?usp=drive_link จะเห็นว่าโครงงานที่นักเขียนเคยทำ นักเขียนจะไม่ได้อธิบายมันละเอียดมาก ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้ายิ่งตัวหนังสือเยอะมันจะไม่ค่อยน่าอ่าน ก็เลยใส่เป็นQR แนบไว้ข้าง ๆ แทน นอกจากจะเขียนรางวัลที่ได้แล้ว นักเขียนก็จะเขียนไปด้วยว่าเราได้อะไรจากการแข่งครั้งนี้ https://drive.google.com/file/d/1hDlEzDhf_h65Cff7gtlshl7IbqpPjHcg/view?usp=sharing นักเขียนก็จะแบ่งแยกนะคะ ว่าอันไหนคือกิจกรรมที่เราได้รางวัล และ อันไหนคือกิจกรรมที่เราเข้าร่วม บางกิจกรรมถึงแค่เราจะได้แค่เข้าร่วมแต่เราก็ได้ประสบการณ์ และอะไรหลาย ๆ อย่างจากมัน นักเขียนอยากให้กรรมการรู้ว่าเราไม่ได้ไม่แข่งเฉย ๆ นะแต่เราตั้งใจที่จะไปหาความรู้จากมันด้วย https://drive.google.com/file/d/19tQf_IQ2rdF_bJbZjzfOGCLTHO8PYMbn/view?usp=drive_link นอกจากนี้จะสังเกตเห็นว่า นักเขียนจะใส่สัญลักษณ์หรือโลโก้ของการแข่งนั้น ๆ ไปด้วย เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เห็นชัด ๆ ว่าเป็นรายการแข่งอะไรและของอะไรค่ะ ส่วนตัวมองว่าตัวเองไม่ได้มีกิจกรรมเยอะอะไรขนาดนั้น เพิ่งเริ่มมาเก็บตอนม.5 หรือบางอันเพิ่งแข่งตอนม.6เนี่ยเองค่ะ เลยอยากจะบอกทุกคนว่าอย่าเพิ่งท้อนะคะ มันยังทันอยู่แต่แค่เราต้องคอยมองหารายการแข่งเท่านั้นเองค่ะ และส่วนผลงานด้านจิตอาสานักเขียนมีค่ะ แต่มีแค่ 3 อัน และรู้สึกว่าอยากจะเน้นพอร์ตไปเชิงวิชาการเลย เลยไม่ได้ใส่ไปค่ะ https://drive.google.com/file/d/1-5wauA_QW23mCjbqqMzTQUur11TharNK/view?usp=drive_link https://drive.google.com/file/d/1C5onLCa4BKYMAaAeAldF95LtDuL8icFa/view?usp=drive_link ส่วน 2 หน้าสุดท้ายของนักเขียนจะเป็น การตอบคำถามที่ทางมหาลัยถามมาค่ะ ถ้าอยากใส่หน้าthank you ปิดท้ายก็ใส่ได้เลยนะคะ แต่อย่าลืมดูข้อกำหนดที่ทางมหาลัยให้มาว่าเขาต้องการประมาณกี่หน้า ส่วนในพาร์ทของการสัมภาษณ์นักเขียนเคยเขียนไปแล้วนะคะ สามารถเข้าไปดูได้เลยนะคะ https://intrend.trueid.net/post/489607 ก็จบไปแล้วนะคะกับการเปิดพอร์ตเห็นไหมว่าถึงไม่มีสอวน.เลยก็สามารถยื่นได้นะคะ และที่สำคัญมาก ๆ อย่าลืมอ่านเงื่อนไขที่ทางมอกำหนดไว้ให้ดีนะคะ หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนได้นะคะ และใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถถามหรือแสดงความคิดเห็นมาทางด้านล่างได้เลยนะคะ ไฟล์พอร์ตเต็ม ๆ อยู่ที่ลิงก์ด้านบนนะคะ ขอขอบคุณภาพจาก ว่างแหละเราอะ (ปรับแต่งโดยใช้canva) : ภาพปก และ ภาพทั้งหมด เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !