ทวีปแอนตาร์กติกใกล้เข้าสู่ 'หายนะ' จริงหรือ?
ข่าววันนี้ นักสิ่งแวดล้อมชี้ ทวีปแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) ได้เข้าใกล้หายนะทางสภาพอากาศแล้ว, ผลพวงหลัก ๆ เกิดจากการเผาพลังงานฟอสซิล จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
พื้นที่ปลอดสงคราม ปลอดอาวุธ ปลอดนิวเคลียร์
เมื่อสนธิสัญญาแอนตาร์กติก มีผลบังคับใช้เมื่อ 60 ปีก่อน ได้รับคำชื่นชมอย่างมากว่าเป็นสนธิสัญญาที่ประสบความสำเร็จที่สุดเท่าที่เคยมีมาของมนุษยชาติ
เหล่าผู้นำทั่วโลกต่างเห็นพ้อง ในการปล่อยให้ทวีปที่ไร้คนอยู่ และมีขนาดเป็น 2 เท่าของออสเตรเลีย ให้เป็นสถานที่ปลอดสงคราม, ปลอดอาวุธ และปลอดกากนิวเคลียร์
แต่ตอนนี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กลับเป็นตัวทำลายความสำเร็จนั้น
พื้นผิวน้ำจืดราว 90% ของโลก ถูกขังอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก แต่ในขณะที่โลกร้อนขึ้น ธารน้ำแข็งที่ถล่มลงและละลายลงในอัตราเร่ง มีผลทำให้เมืองชายฝั่งหลายแห่ง ตั้งแต่นิวยอร์ก ถึงจาร์กาตา ได้รับผลกระทบตามมา
โลกร้อนขึ้น 3 องศาฯ แผ่นน้ำแข็งยักษ์ละลาย
ที่ผ่านมา ผู้นำโลกให้คำมั่นว่าจะระงับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ในสิ้นศตวรรษนี้ แต่จากนโยบายของหลายประเทศ กลับทำให้โลกอุณหภูมิสูงขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียสไปแล้ว
หนึ่งในผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร Nature เมื่อเดือนพฤษภาคม พบว่า อุณหภูมิโลก สูงขึ้น 3 องศาเซลเซียสแล้ว และกำลังกลายเป็นจุดเปลี่ยนอย่าง "ก้าวกระโดด" ที่ทำให้น้ำแข็งในแอนตาร์กติกละลายเร็วขึ้น และยังทำให้ระดับน้ำทะเล "สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและหยุดไม่ได้"
อีกผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน ในวารสาร Science Advances พบว่า แผ่นน้ำแข็งที่ช่วยพยุงธารน้ำแข็งเกาะไพน์ (Pine Island) ที่มีขนาดใหญ่ถึง 4,320 ตารางกิโลเมตร หรือเทียบเท่าเมืองลาสเวกัส ได้หลุดออกมาแล้ว
ธารน้ำแข็งเกาะไพน์ นับเป็น 1 ใน 4 ของปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทั่วโลก ที่ยังพบความเสี่ยงว่าจะละลายเร็วขึ้นอีก หากน้ำอุ่นขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญชี้ นี่คือผลพวงจาก "ความเจ้าเล่ของมนุษย์"
อเลสซานโดร อันโตเนลโล นักประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย เจ้าของหนังสือเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมการเมืองในแอนตาร์ติกา บอกว่า
"ความทายต่อสิ่งแวดล้อมในแอนตาร์กติกาที่สำคัญที่สุดเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเรื่องความเจ้าเล่ในระดับที่ต่างกันไป"
การขุดเหมือง ขุดเจาะ และประมง
ภูมิภาคขั้วโลก กำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก "ขั้วโลกเหนือ" ได้กลายเป็นพื้นที่ภูมิรัฐศาสตร์สำคัญ ที่พบความตึงเครียดมากขึ้น เมื่อนำแข็งละลาย และนำมาสู่การค้นพบว่ามีทรัพยกรธรรมชาติมากมาย
ขณะที่ขั้วโลกใต้ กลับพบแร่ธาตุหรือเชื้อเพลิงที่รู้จักเพียงน้อยนิด และยังมีแหล่งน้ำมันสำรองไม่มากนัก นับเป็นเกราะป้องกันตนเอง จากความสนใจของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ดี
แอนตาร์กติกมีขนาดใหญ่มาก พื้นที่โดยรอบน่าจะมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ ที่ถูกปกคลุมไว้ด้วยก้อนน้ำแข็งที่หนา และเพื่อสงวนทรัพยากรไว้ ทำให้ต้องระบุในสนธิสัญญาปี 1991 สั่งห้ามการทำเหมือง, ขุดเจาะ หรือกิจกรรมอย่างอื่นในแอนตาร์กติก นอกจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยคำสั่งห้ามนี้จะได้รับการทบทวนอีกครั้งในปี 2048
แต่โลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้สวยงามอย่างนั้น
เมื่อธารน้ำแข็งขั้วโลกเริ่มแตกออก ผืนน้ำโดยรอบ ก็เริ่มถูกรุกราน
ลอร่า เมลเลอร์ นักนิเวศวิทยา และผู้เชี่ยวชาญภูมิศาสตร์ขั้วโลก ของกรีนพีซนอร์ดิก บอกว่า ตอนนี้ผืนน้ำโดยรอบขั้วโลกเหนือ กำลังเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
สัตว์หลากหลายสายพันธุ์กำลังถูกล่าในทะเลตอนใต้ของแอนตาร์กติก นกทะเล อย่าง อัลบาทรอส หรือนกจมูกหลอดยักษ์ขั้วโลกใต้ ถูกจับด้วยตาข่ายจนาดใหญ่ที่ขึงดักพวกมันเอาไว้
นอกจากนี้ยังมีการจับกุ้งเคยขนาดใหญ่ โดยปี 2019 จับได้มากถึง 4 แสนตัน ทั้งที่มันเป็นอาหารหลักของเพนกวิ้น, แมวน้ำ, ปลา และวาฬ ซึ่งกุ้งเคย มีชีวิตรอดได้ในช่วงอุณหภูมิที่แคบมาก ทำให้กระทบอย่างหนักต่อห่วงโซ่อาหาร
นักท่องเที่ยว กับ ขยะของพวกเขา
เรื่องการท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของแอนตาร์กติก โดยแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวราว 70,000 คนมาเยือน ส่วนใหญ่ในช่วงฤดูร้อน และจะไปในที่ซ้ำ ๆ กัน
ขยะที่นักท่องเที่ยวนำมาในฤดูร้อน ได้ถูกน้ำแข็งจับตัวไว้ในฤดูหนาว และมันจะไม่ไปไหน จนกว่าน้ำแข็งจะละลายอีกครั้ง และพัดมันลงสู่ทะเล
นักวิทยาศาสตร์พยายามอย่างมากในการปรับความคิดผู้คน และการจัดการกับขยะ ที่จะทำให้สัตว์ทะเลตายอีกไม่รู้เท่าไหร่ อาจไม่ใช่ในปีนี้ แต่เป็นหลายพันปีข้างหน้า
แอนตาร์กติก ไม่มีตำรวจ ไม่มีรัฐบาลปกครอง และไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า ใครจะต้องจ่ายเงินรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ
หายนะที่กำลังเกิดขึ้นในแอนตาร์กติกวันนี้ เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งนั้น
เรื่อง : ภัทร จินตนะกุล
ภาพ : Derek Oyen