เป็นที่ทราบกันดีว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้น มีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ เพราะคุณสมบัติพื้นฐานของการออกกำลังกาย คือ เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ ตลอดจนเพิ่มความสมดุล และความยืดหยุ่นของร่างกาย ทั้งนี้ การออกกำลังกายในเด็กจะช่วยให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโต และลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ การออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน และสร้างทักษะทางสังคมระหว่างเด็ก ๆ ด้วยกัน สำหรับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยป้องกันการหกล้ม และการบาดเจ็บ ซึ่งผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีสุขภาพจิตดี ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า ชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อม ลดความดันโลหิตสูง ช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งชนิดต่าง ๆ ด้วยนะคะ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) หลายคนรู้สึกเบื่อที่ต้องอยู่บ้านนาน ๆ แล้วต้องการไปออกกำลังกายนอกบ้าน ซึ่งเรามีข้อมูลที่น่าสนใจเรื่อง "การออกกำลังกายให้ปลอดภัยจากโควิด-19" มาเล่าให้ฟังค่ะ การว่ายน้ำ : โดยทั่วไปเชื้อโรคสามารถอยู่ในน้ำได้นานกว่าในอากาศ เพราะในน้ำไม่มีความร้อน ยกเว้นการเติมคลอรีน หรือเกลือลงไปในสระว่ายน้ำ ซึ่งเราไม่มีทางทราบได้ว่า ปริมาณหรือคุณภาพของคลอรีนหรือเกลือที่เติมลงไปนั้น มากเพียงพอหรือไม่ที่จะฆ่าเชื้อโรคได้หรือไม่ เพราะถ้าเติมมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อผู้ว่ายน้ำ แต่ถ้าน้อยเกินไปก็ฆ่าเชื้อโรคไม่ได้ นอกจากนี้ ในห้องอาบน้ำ หรือในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า มีโอกาสที่เราจะพบปะพูดคุยกับผู้คน ซึ่งเสี่ยงต่อการสัมผัสละอองฝอยจากผู้ติดเชื้อก็เป็นได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในช่วงนี้นะคะ // เครดิตภาพประกอบ (ฟรี) จาก Canva Application // การเดินหรือวิ่ง : การสวมหน้ากากอนามัยออกกำลังกาย ทำให้หายใจไม่ทัน ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงไม่สวมหน้ากากอนามัยเวลาที่ออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือวิ่ง ย่อมทำให้เราเหนื่อย หายใจเร็วขึ้น และแรงขึ้น จึงมีโอกาสจะสูดลมหายใจ เพื่อรับลมมาจากระยะไกลกว่าปกติ ซึ่งลมเหล่านั้นอาจจะมีละอองฝอยของเชื้อไวรัสโควิด-19 // เครดิตภาพประกอบ (ฟรี) จาก Canva Application // กีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมจำนวนมาก เช่น ฟิตเนส ฟุตบอล มวย โบว์ลิ่ง กอล์ฟ วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น มีความเสี่ยงที่ผู้เล่นและผู้ชมจะได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือละอองฝอยที่มาในรูปของเหงื่อ น้ำลาย น้ำมูก เวลาที่พูดคุยหรือตะโกนเชียร์ // เครดิตภาพประกอบ (ฟรี) จาก Canva Application // การออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง ถ้าร่างกายแข็งแรงเราจะมีภูมิต้านทานโรคภัยต่าง ๆ อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังสามารถทำได้นะคะ โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และระยะห่างทางสังคมเป็นหลัก โดยสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ งดเว้นการเล่นกีฬาที่ต้องเล่นกันหลายคน หรือมีการพบปะผู้คนจำนวนมาก เล่นกีฬาชนิดที่เล่นคนเดียว หรือออกกำลังกายที่บ้าน ออกกำลังกายในสถานที่โล่ง โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ล้างมือหลังจากออกกำลังกายเสร็จ หรืออาบน้ำทันที ห้ามใช้มือจับหน้า แคะจมูก หรือขยี้ตาระหว่างการเล่น ในช่วงเวลานี้ คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน แล้วอาจจะรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวถูกจำกัดลง แต่จริง ๆ แล้ว แม้ว่าจะอยู่ในบ้านเราแก่ก็ยังสามารถออกกำลังกายได้นะคะ เช่น การเดินรอบบ้าน การเดินวนในห้อง การกระโดดตบ การจ๊อกกิ้งอยู่กับที่ การยืดเหยียด การแกว่งแขน โยคะ หรือการเต้นแอโรบิค เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายเพียง 3 - 5 นาที สามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดของกล้ามเนื้อ บรรเทาความตึงเครียดทางจิตใจ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ด้วยนะคะ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงแน่นอนค่ะ อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : การเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โรคปอดอักเสบรุนแรงจากไวรัส) เคล็ดลับการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ประโยชน์ของเจลล้างมือแอลกอฮอล์ และวิธีการเลือกซื้อ การป้องกันไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เมื่อต้องเดินทางโดยรถสาธารณะ รีวิว : DIY หน้ากากอนามัย ข้าราชการป่วยเพราะ “โควิด-19“ ลาป่วยได้ โดยไม่นับเป็นวันลา หน้ากากอนามัย ไม่ใส่ยิ่งเสี่ยง ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) แหล่งเรียนรู้ด้านสุขอนามัยบนโลกออนไลน์ อัพเดทสถานการณ์ "ผีน้อยเกาหลี" หนีการกักกันโรค ล้างมือเพื่อสุขอนามัย ห่างไกลโควิด-19 ยกเลิกงานสงกรานต์ 2020 ลดความเสี่ยงโควิด-19 รู้ไว้ต้องระวัง 10 สิ่งของที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 7 กิจกรรมหรรษา และแนวทางท่องเที่ยววันสงกรานต์ 2563 ถอดบทเรียนความสำเร็จ การควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19 จากจีน 5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19 เดินทางมาจาก “เขตติดโรคติดต่ออันตราย” ต้องทำอย่างไร ?? โรงพยาบาลตรวจ โควิด-19 ฟรี! (สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง) 7 แอปพลิเคชันทำงานที่บ้าน รู้ไว้ใช้งานช่วงวิกฤติโควิด-19 สงกรานต์ไม่หยุด!! นัยยะสำคัญที่ต้องรู้ แล้วสู้ไปด้วยกัน 5 กิจกรรมช่วงกักตัว พักกาย พักใจ สู้ภัยโควิด-19 วิธีทิ้งหน้ากากอนามัย ไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย วิธีการทำความสะอาดสมาร์ทโฟน ป้องกัน COVID-19 ทำเองได้ง่าย ๆ วิกฤติศตวรรษที่ 21 COVID-19 vs โรคระบาดอื่น ๆในอดีต มนุษย์กรุงเทพฯ เมื่อกลับถึงบ้านควรทำอย่างไร? เพื่อให้ปลอดภัยจากโควิด-19 มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในสำนักงาน สบายดีบอต บ่เอาโควิด (@sabaideebot) แชทบอตเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพใจ ในภาวะวิฤติโควิด-19 DIY : Face Shield หน้ากากป้องกันใบหน้า ทำเองได้ง่ายนิดเดียว 7-11 คลังอาหารของคนไทย ในวันที่ประกาศปิดเมือง ข้าราชการกับการทำงานที่บ้าน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งหนึ่งในชีวิต ฝ่าโควิดไปซื้ออาหารแมว รถพุ่มพวง ตลาดสดหน้าบ้าน เพื่อนคู่ใจยามยาก รีวิว : เทคนิคการตัดผมเองช่วงปิดเมือง วิธีการลดการเเพร่ระบาด "COVID-19" ก่อนฤดูฝน 2020 ความท้าทายของประเทศไทยหลัง "COVID-19" จบสิ้นลง "เคอร์ฟิว" ช่วยสกัดการเเพร่ระบาดของไวรัส "COVID-19" ได้จริงหรือ? แนวทางการรักษาโรคโควิด-19 อัพเดทอาการผู้ป่วยโควิด-19 "ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส" การดูแลเด็กในช่วงสถานการณ์ "COVID-19" เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคร้าย สตรีตั้งครรภ์ และสตรีให้นมบุตร กับโควิด-19 กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.1 เมื่อฉันเป็นกลุ่มเสี่ยง กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.2 จัดตารางการใช้ชีวิตประจำวัน กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.3 ลดความเสี่ยงคนทำงาน กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.4 สถานการณ์โรคระบาดที่ร้ายแรง กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.5 การใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.6 การตรวจคัดกรองโควิด-19 กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.7 สารพันไอเดียอยู่บ้านยังไงไม่ให้เบื่อ กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.8 การเพิ่มระยะห่างทางสังคม เพื่อสังคมที่ห่างไกลโควิด-19 กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.9 เรื่องเล่าจากจุดคัดกรอง รพ.พระนั่งเกล้า กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.10 ร่วมกันสร้างจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.11 แหล่งเรียนรู้และข่าวสาร COVID-19 กักตัว หยุดเชื้อ เพื่อชาติ : Day.12 Review การใช้ชีวิตหลังรัฐบาลประกาศ "เคอร์ฟิว" // เครดิตภาพประกอบ (ฟรี) จาก Canva Application //