สหรัฐฯ เปิดวีธีทำเหมืองใต้ทะเลแบบใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยหุ่นยนต์สุดล้ำ
แร่โคบอลต์, แมงกานีส, ทองแดง หรือแร่อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำแบตเตอรี่นั้นกำลังใกล้จะหมดลงจากการทำเหมืองบนบก อย่างไรก็ตาม แร่เหล่านี้ยังคงนอนหลับใหลอยู่ที่ก้นทะเลในปริมาณมหาศาล แต่ทว่าการดึงแร่เหล่านี้มาใช้อาจจะได้ไม่คุ้มเสียกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นทะเลที่ต้องเปิดหน้าเหมือง อย่างไรก็ตาม บริษัทสตาร์ตอัปแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ทำเหมืองใต้ทะเลที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากในระดับที่พลิกโฉมหน้าการทำเหมืองได้เลย
หุ่นยนต์ทำเหมืองใต้ทะเลดังกล่าวมีชื่อว่า ยูเรก้า วัน (Eureka 1) จากบริษัท อิมพอสสิเบิล เมทัลส์ (Impossible Metals) สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา ยูเรก้า วัน (Eureka 1) ในปัจจุบันมีสถานะเป็นตัวต้นแบบที่มีขนาดใกล้เคียงกับตู้เย็น ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และประมวลผลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
ยูเรก้า วัน (Eureka 1) ผ่านการทดสอบเบื้องต้นในการดำน้ำลึกเพื่อขุดเหมืองจำลองที่ 25 เมตร อย่างไรก็ตาม ตัวเครื่องจริง ๆ นั้นได้รับการออกแบบให้สามารถทำเหมืองได้ที่ระดับความลึกถึง 5 กิโลเมตร โดยบริษัท อิมพอสสิเบิล เมทัลส์ (Impossible Metals) วางแผนให้ยูเรก้า วัน (Eureka 1) พร้อมใช้งานได้ในปี 2026
การลงทุนของอิมพอสสิเบิล เมทัลส์ (Impossible Metals) นั้นอาจจะดูยากทั้งในทางเทคนิคและเทคโนโลยี แต่ว่าผลสัมฤทธิ์ที่ได้นั้นคุ้มค่าหากบริษัทสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้สำเร็จ เพราะทางบริษัทประเมินว่ามีแร่นิกเกิล, โคบอลต์, แมงกานีส และทองแดง อยู่ที่พื้นทะเลมูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐ หรือหลักแสนล้านบาท ซึ่งจะเปิดทางอนาคตการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ในอนาคตนั่นเอง
ที่มาข้อมูล New Atlas
ที่มารูปภาพ Impossible Metals