รีเซต

อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย. ขยายตัว โบรกมอง กนง.คงดอกเบี้ย

อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย. ขยายตัว โบรกมอง กนง.คงดอกเบี้ย
ทันหุ้น
8 พฤษภาคม 2567 ( 14:42 )
13
อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย. ขยายตัว โบรกมอง กนง.คงดอกเบี้ย

#บล.ทิสโก้ #ทันหุ้น - อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. ขยายตัว +0.19% YoY ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวที่ 0.37% YoY

 

· เงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย. ขยายตัว +0.19% YoY, +0.85% MoM (ตลาดคาด -0.20% YoY) โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปพลิกกลับเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน สวนทางกับประมาณการของเราและตลาดที่คาดว่าจะหดตัวน้อยลงแต่ยังต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปพลิกสูงกว่าคาดมีสาเหตุจากราคาในหมวดอาหารสดที่ปรับสูงขึ้น 2.32% MoM ส่งผลให้ภาพ YoY หดตัวน้อยลงมาอยู่ที่ -0.20% (vs. -1.91% YoY เดือนก่อน) โดยราคาในกลุ่ม ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 3.04% YoY ตามราคาข้าวสาร และข้าวเหนียว ขณะเดียวกัน ราคาในหมวดผักสด และผลไม้สดปรับสูงขึ้น 9.74% YoY และ 1.13% YoY ตามลำดับ จากการสูงขึ้นของราคาแตงกวา และผักชี รวมถึง ทุเรียนและกล้วยหอม เป็นหลัก ด้านราคาในกลุ่มพลังงานปรับสูงขึ้น 2.45% MoM ส่งผลให้ภาพ YoY หดตัวเพียงแค่ -0.09% YoY (vs -2.25% YoY เดือนก่อน) ด้านราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงหลักๆ ได้แก่ หมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ซึ่งหดตัว 5.05% YoY ตามราคาเนื้อสุกร และปลาทู เป็นหลัก

 

· ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ +0.37% YoY ใกล้เคียงตลาดคาดที่ 0.34% และเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน +0.05% MoM

 

· สำหรับ 4 เดือนแรกของปี 2024 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ -0.55% และ +0.42% ตามลำดับ

 

คาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบ มิ.ย. โดยเราปรับมุมมอง กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียง 25 bps ในไตรมาสที่ 4 ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวที่ 2.5% ตลอดทั้งปีมีมากขึ้น

 

· บล.ทิสโก้ ยังมีมุมมองเชิงบวกกับภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี โดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง ซึ่งคาดว่าโมเมนตัมของเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ในไตรมาสที่ 2 จากงบประมาณฯ ปี FY2024 ที่จะทยอยเบิกจ่ายออกมา ภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง และใช้จ่ายต่อคนที่สูงขึ้นจากปีก่อน ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังแข็งแรง แม้จะชะลอลงจากปีก่อนบ้าง

 

· บล.ทิสโก้ คาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 1.0% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.6% ในปี 2024F ลดลงจากประมาณการครั้งเล็กน้อยจากอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 1 ที่ต่ำกว่าคาด จากราคาอาหารสด และพลังงาน ขณะที่มองปัจจัยหนุนในช่วงที่เหลือของปีจาก 1.) ผลของฐานสูงที่จะหมดไป 2.) ค่าเงินบาทที่อ่อนเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาครองจากญี่ปุ่นซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าพลังงานสูงขึ้น 3.) การลดมาตรการอุดหนุนค่าครองชีพของภาครัฐฯ ทั้งการทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล และราคาไฟฟ้าในระยะถัดไป และ 4.) แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้นจากผลผลิตที่จะลดลงจากปัญหาภัยแล้ง และการขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร

 

จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว และอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเร่งขึ้น มองว่า กนง. ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้เราปรับลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือเพียง 25 bps (1 ครั้ง) จากเดิมที่มอง 50 bps (2 ครั้ง) และมองความเป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเลื่อนออกไปเป็นช่วงปลายปี 2024 ซึ่งมุมมองดังกล่าวเป็นการปรับให้สอดคล้องกับผลการประชุม กนง. ครั้งล่าสุดที่ กนง. ยังส่งสัญญาณเข้มงวดต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจไทยที่ในปีนี้จะขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน รวมถึงแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะช้าและน้อยลงจากเดิม ทั้งนี้ เรามอง Upside Risk ต่อประมาณการดอกเบี้ยนโยบายมีสูงขึ้นจากเดิม (โอกาสที่ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ถูกปรับลดลง มีมากขึ้น

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง