คาดปลายปี64 ไทยจะผลิต "วัคซีนโควิด-19" ได้
วันนี้( 24 พ.ค.63) ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงข่าวการรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยโดยวันนี้ไม่มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ ซึ่งยอดเป็นศูนย์ก่อนหน้านี้มีมาแล้ว4 ครั้งทำให้ขณะนี้ยอดผู้ป่วยสะสมในประเทศอยู่ที่3,040 ราย โดยวันนี้มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 5 ราย ทำให้คงเหลือผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล 63 ราย
โดยผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงประชาชนที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ยังคงต้องเข้มมาตรการด้านสาธารณสุข หากไม่มีการป้องกันอาจนำเชื้อกลับมาแพร่ระบาดให้กับคนในบ้านได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุเน้นย้ำประชาชน การ์ดอย่าตก ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้านเพราะอาจทำให้การระบาดกลับมาแพร่ระบาดซ้ำได้ โดยพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดสะสมมี 68 จังหวัด 5 อันดับ แรก ได้แก่ 1กรุงเทพมหานคร 1,532 ราย , ภูเก็ต 226 ราย , นนทบุรี 158 ราย , ยะลา 125 ราย และ สมุทรปราการ 115 รายขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 75 ของโลก
ส่วนความคืบหน้าพัฒนาวิจัยวัคซีน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ระบุว่า สำหรับประเทศไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ,คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล , คณะเภสัช จุฬาฯ , ไบโอเทค สวทช. ,บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัดในการพัฒนาวิจัย วัคซีนต้นแบบป้องกันโควิด-19 , ส่วนความก้าวหน้าหลายที่เริ่มทดสอบในสัตว์เกือบครบแล้ว ซึ่งต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองให้ผลเป็นที่น่าพอใจก่อน คือ มีการประเมินผลทางด้านภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองก่อนที่จะเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์
ขณะที่ทั่วโลกมีการนำวัคซีนทดลองในคนแล้ว 10 ชนิด เช่น ประเทศ จีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย โดยอยู่ในสัตว์ทดลอง อีก 114 ชนิด ซึ่งการพัฒนาวัคซีนมีหลายขั้นตอนในไทยตอนนี้มีการพัฒนาวัคซีนต้นแบบ 5 เทคโนโลยี ได้แก่ วัคซีนเชื้อตาย โดยเทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง , วัคซีน mRNA วัคซีน DNA , VLP , วัคซีน Subunit Protein
เบื้องต้น ในประเทศไทย บ.ไอโอเน็ต สามารถผลิตเทคโนโลยี วัคซีน DNA ได้ แต่ในส่วนเทคโนโลยีอื่นนั้นเรามีความจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือต่างประเทศในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่นเทคโนโลยี วัคซีน mRNA รวมถึงได้เร่งทำความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีการพัฒนาวัคซีนสำเร็จในขั้นต้น เช่น ประเทศจีนเพื่อเป็นพื้นฐานในการร่วมวิจัยผลิตวัคซีน อาจต้องมีการทำข้อตกลงในการผลิตวัคซีนในเบื้องต้นก่อน เพื่อมาทดลอง
ด้านศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ตอนนี้ไทยมีความร่วมมือทั้งหน่วยงานในไทยและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง
โดย อธิบายว่า ตัวไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เหมือนลูกบอลแล้วมีเข็มมุดปักโดยรอบ ซึ่งจุฬาฯเลือก 3 เทคโนโลยีในการพัฒนาวัคซีน คือ ผลวิจัยพบว่า วัคซีน DNA และmRNA ได้ผลดี ขณะที่วัคซีน โปรตีน เบื้องต้นผลยังไม่น่าพอใจ
ขณะที่เมื่อวานนี้(23 พ.ค.) ทางจุฬา ได้เริ่มทดลองวัคซีน mRNA ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในลิงไปแล้วโดยจะตรวจเลือดลิง รอบหน้ากลางเดือนมิถุนายนเพื่อตรวจดูภูมิคุ้มกันในรอบแรก ทั้งนี้ได้มีการจองโรงงานผลิตขนาดเล็กในต่างประเทศแล้วในการผลิตวัคซีน 10,000 โด๊ส เพื่อเตรียมทดสอบในอาสาสมัครระยะต่อไป และย้ำความพร้อมไทยประมาณปลายปีหน้าจะเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้
ด้านนาย วิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ระบุว่า ในการพัฒนาวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในครั้งนี้ ทางไบโอเนท-เอเชีย ได้ร่วมกับภาครัฐ ปกติแล้วในการผลิตวัคซีน ต้องใช้ระยะเวลา5-10 ปีในการผลิต โดยได้มีการหารือร่วมกับจุฬา ในการใช้วัคซีนที่สามาถผลิตได้เร็วแลัประหยัดเวลาในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งทางไบโอเนทมีความสนใจในเทคโนโลยี ด้านวัคซีนDNA มีการพัฒนาตัวกล้าเชื้อDNA ประมาณ50 วัน และได้มีการทดลองในหนูไปแล้ว ถึงแม้ตอนนี้ จะยังไม่วามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิดได้ แต่เราพบวิธีที่จะสามารถผลิตวัคซีนได้ เน้นย้ำไทยมีศักยภาพเพียงพอ
ทั้งนี้ ระยะการทดลองในคน มี3 ระยะ คือ
ระยะ1 : อาสาสมัคร ประมาณ 10-15 คนต่อกลุ่ม รวม100 คน , แบ่งเป็น ขนาดโด๊สต่ำ โด๊สกลาง โด๊สสูง โดยจะฉีด1เข็ม-2เข็ม และจะเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนหลอก เพื่อดูอาการ ไข้ ผื่น เน้น กลุ่ม คนทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่ำ
ระยะ2 : ทดลองในอาสาสมัคร ประมาณ 500 คน เป็นกลุ่มคยทั่วไป โดยให้โด๊สยาต่ำลงกว่าในกลุ่มแรก
ระยะ3 : ในกลุ่มอาสาสมัครกลุ่มใหญ่ โดยจะเลือกอาสาสมัครในพื้นที่การระบาดเยอะ อาชีพเสี่ยง เป็นต้น
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand