รีเซต

รวมข่าวประจำวัน ข่าวยอดนิยม ข่าวเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นเปิดปิดประจำวัน

ข่าวเด่น ข่าวดัง

ย้อนเส้นทาง 23 ปี : ผ่านอุปสรรค สู่ 'สมรสเท่าเทียม' จารึกประวัติศาสตร์ชาติแรกในอาเซียน
#TNN เจาะข่าว #TNN ช่อง16
นี่คือเรื่องราว 'ความก้าวหน้า' สำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายรองรับการสมรสของคู่เพศเดียวกัน เปิดประตูสู่การปลดล็อกข้อจำกัดทางสังคมและเคารพสิทธิความเสมอภาคของบุคคลทุกเพศสภาพ แม้เส้นทางสู่จุดนี้ต้องผ่านการถกเถียงและต่อสู้อย่างยาวนาน แต่ก็เป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น TNN จะพามาติดตามรายละเอียดการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้พร้อมกัน ไทยก้าวสู่การเป็นประเทศแรก ในอาเซียนที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมวันนี้ (27 มีนาคม 2567) ถือเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม" ด้วยคะแนนเสียง 400 ต่อ 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง และไม่ลงคะแนน 3 เสียง  (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านฉลุย! สภาฯ เห็นชอบผ่าน วาระ 3)การผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทำให้ไทยกำลังจะกลายเป็นประเทศที่สามในเอเชียที่มีกฎหมายรองรับการสมรสของคู่เพศเดียวกัน ต่อจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายดังกล่าว ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาคของกลุ่มบุคคลเพศทางเลือกขั้นตอนต่อไป สภาจะส่งร่างพระราชบัญญัตินี้ให้วุฒิสภาพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 หากผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปการพิจารณาร่างกฎหมายนี้ใช้เวลานานถึง 12 ครั้งการประชุม โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณารายมาตราจนจบทั้งสิ้น 68 มาตรา มีกรรมาธิการเสียงข้างน้อยขอสงวนความเห็นถึง 14 มาตรา แสดงให้เห็นถึงการถกเถียงและไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการผ่านร่างกฎหมายในที่สุดตีตก ‘บุพการีลำดับแรก’ ชี้ขัด รธน. – ก่อปัญหาตีความในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร กรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้ลุกขึ้นชี้แจงประเด็นที่กรรมาธิการเสียงข้างน้อยเสนอให้เพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก" เข้าไปในร่างกฎหมาย โดยระบุว่าถ้อยคำดังกล่าวยังไม่มีการศึกษาผลกระทบอย่างเป็นทางการ และไม่ได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต
อ่านต่อ >
30

ข่าวล่าสุด